จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปราชายุธิษฐิระ

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปราชายุธิษฐิระ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2564 13:11:59

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปราชายุธิษฐิระ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Notes on the Art of Siam, No. 6 : Prince Yudhisthira, จารึกฐานพระพุทธรูปพระเจ้ายุธิษฐิระ อักษรธรรมล้านนา, กท. 93, เลขที่ ก. 7, กท. 93 จารึกฐานพระพุทธรูปพระเจ้ายุธิษฐิระ, หลักที่ 303 จารึกที่ฐานพระพุทธรูปราชายุธิษฐิระ

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2019

ภาษา

สันสกฤต, บาลี

ด้าน/บรรทัด

มีอักษรจารึก 1 บรรทัด รอบฐานพระพุทธรูป

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้แปล

1) บุญเลิศ เสนานนท์ (พ.ศ. 2530), (พ.ศ. 2538)
2) วินัย พงศ์ศรีเพียร (พ.ศ. 2534

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “มหาศักราช 1398” ตรงกับ พ.ศ. 2019 ในสมัยพระเจ้าติโลกราช แห่งราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ พ.ศ. 1984-2030)
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “อุตตรภัทร” เป็นชื่อกลุ่มดาวฤกษ์ที่ 26 มี 2 ดวง คือดาวราชสีห์ตัวเมียหรือเพดานตอนหลัง และ ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า
3. บุญเลิศ เสนานนท์ : “โสริยาม” น่าจะหมายถึง ยามแห่งพระเสาร์ หรือยามแห่งพระอาทิตย์
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ยุธิษฐิรราม” พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ได้ค้นคว้าโดยรวบรวมจากหลักฐานทางด้านเอกสาร ทั้งของล้านนาและกรุงศรีอยุธยา รวมถึงศิลาจารึกหลายหลัก พบว่า “ยุธิษฐิระ” ทรงเป็นโอรสของพระยาบาลแห่งราชวงศ์สุโขทัย ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) แห่งกรุงศรีอยุธยาให้เป็นพระมหาธรรมราชาบรมปาล พระยุธิษฐิระทรงเป็นอดีตเจ้าเมืองสองแคว ซึ่งเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา เพราะไม่พอพระทัยที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์อยุธยา ไม่ทำตามคำพูดที่เคยบอกไว้ตั้งแต่ครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็นพระราเมศวร ว่าหากได้ขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อใด จะให้พระยุธิษฐิระเป็นอุปราช ซึ่งน่าจะหมายถึงการสถาปนาให้เป็นพระมหาธรรมราชา แต่เมื่อได้เสวยราชย์แล้วกลับให้พระองค์เป็นเพียงเจ้าเมืองสรลวงสองแคว พระยุธิษฐิระจึงขึ้นไปถวายตัวต่อพระเจ้าติโลกราช ซึ่งได้รับพระองค์ไว้เป็นลูก และทำสงครามกับกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 1914 เป็นต้นมา ในระหว่างนั้น พระองค์ได้ทำความชอบ จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองพะเยา มีอำนาจครอบคลุมทั้งเมืองงาว เมืองแพร่ และเมืองน่าน มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าสี่หมื่น แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2015 ได้สถาปนาตนเองเป็นพระราชาอโสกราช พระเจ้าติโลกราชจึงไม่พอพระทัย และปลดพระยุธิษฐิระออกจากการเป็นเจ้าเมือง
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระราชาผู้ครองเมือง อภินว” บุญเลิศ เสนานนท์ ระบุว่าเป็นการแปลโดยถือเอาคำ “อภินว” เป็นวิสามานยนาม โดยแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า อาจแปลเป็น พระราชาผู้ครองเมืองใหม่ที่สุด หรือใหม่ยิ่ง/เมืองที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ และอ้างอิงจารึก ลพ. 24 เชื่อมโยงกับความบรรทัดที่ 7-8 “…มาสร้างบ้านพองเต่าหื้อเป็นที่อยู่…” ส่วน พิเศษ เจียจันทร์พงศ์ ได้สันนิษฐานจากหลักฐานทั้งข้อความในจารึก ลพ. 24 และหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งปรากฏร่องรอยคูน้ำคันดิน ซึ่งเป็นกำแพงเมืองพะเยา ที่มีลักษณะเหมือนเมืองแฝดติดกัน 2 เมือง ว่า เมืองหนึ่งเป็นเมืองเก่าที่มีอยู่ก่อนแล้ว ส่วนอีกเมืองหนึ่งเป็นเมืองที่พระยุธิษฐิระทรงสร้างขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตาม วินัย พงศรีเพียร มีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป (ดูเชิงอรรถที่ 6)
6. วินัย พงศ์ศรีเพียร : “อภินว” ย่อมาจาก “อภินวปุรี” หมายถึง นครเชียงใหม่ พลตรีหม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ในตำนานพระธาตุดอยสุเทพ (ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2472) มีคำเต็มว่า “รัตนติงสาอภินวปุรีคุรุรัฏฐ พระนครเชียงใหม่ราชธานี”
7. วินัย พงศ์ศรีเพียร : “โภชราช” ในที่นี้ น่าจะเป็น โภชนราช “โภชน” แปลว่ากิน และราชเป็นคำแปลจากคำเดิมว่า เจ้า/พรญา จึงแปลคำนี้ว่า เจ้ากินเมือง เพราะในหลักฐานร่มสมัยอีกแห่งหนึ่งคือ จารึกหลักที่ 302 หรือเจ้าพระยาสองแคว เรียกพระยาสองแควว่า “เจ้ากินเมือง” ส่วนวลีทั้งหมด คือ อภินวโภชราช นั้น ต้องแปลว่า “เจ้ากินเมืองของเชียงใหม่” แต่จะแปลว่า “พระราชากินเมืองเชียงใหม่” ไม่ได้ เพราะกษัตริย์ล้านนาในขณะนั้นคือ พระเจ้าติโลกราช
8. วินัย พงศ์ศรีเพียร : “ราชายุธิษฐิร” ควรแปลว่า “เจ้า/พรญายุธิษฐิระ”ให้ตรงกับหลักฐานร่วมสมัยที่ออกนามเจ้านายพระองค์เดียวกันนี้ว่า “พระยาสองแคว” แต่ไม่อาจแปลว่า “พระเจ้ายุษฐิระ” ได้ เพราะตามราชวงศ์ปกรณ์เชียงใหม่ คำว่า พระเจ้า ใช้สำหรับยกย่องฐานะของพระเจ้าติโลกราชองค์เดียวเท่านั้น
9. วินัย พงศ์ศรีเพียร : “รามราชิสฺสรปรมสูรวงฺส” เป็นสร้อยพระนามแรกของราชายุธิษฐิระ และน่าจะมีที่มา จาก “ศรีสูรยพงศ์ราม” ที่ปรากฏในศิลาจารึกของพรญาลิไทย และมีความหมายเช่นเดียวกัน
10. วินัย พงศ์ศรีเพียร : “ธมฺมิโก” เป็นสร้อยพระนามรอง ซึ่งพลตรีหม่อมราชวงศ์ ศุภวัฒย์ เกษมศรี เสนอว่าอาจแปลมาจาก “ทรงธรรม” และมีความหมายเกือบตรงกับ ติปิฎกธร หรือที่จารึกหลักที่ 49 ใช้คำว่า “องค์ทรงไตรปิฎก”
อธิบายศัพท์ : โดย บุญเลิศ เสนานนท์ (พ.ศ. 2530)
(1) เอก แปลว่า หนึ่ง
(2) ตฺริ แปลว่า สาม (สันสกฤต)
(3) นว แปลว่า เก้า
(4) อษฺฏ แปลว่า แปด (สันสกฤต)
(5) กปิวสฺส แปลว่า ปีวอก
(6) มาฆมาส แปลว่า เดือน 3
(7) ศุกฺกปกฺข แปลว่า ข้างขึ้น, ขึ้น (ศุกฺก-สันสกฤต)
(8) ปญฺจมิ แปลว่า ห้า
(9) อาทิตฺยวาร แปลว่า วันอาทิตย์ (อาทิตฺย-สันสกฤต)
(10) อุตฺตร เป็นชื่อนักษัตร
(11) ภทฺรนกฺษตฺร แปลว่าลำดับที่ 26 (นกฺษตฺร-สันสกฤต)
(12) โสริยาเม แปลว่า ยามแห่งพระเสาร์หรือยามแห่งพระอาทิตย์
(13) ติปิฎกธร แปลว่า ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎก, แตกฉานในพระไตรปิฎก
(14) อภินวโภชราชราชา แปลว่า พระราชาผู้ครองเมืองอภินว
(15) ยุธิษฐิรราม คือ พระนามยุธิษฐิรราม (ยุธิษฐิร-สันสกฤต)
(16) ราชิสฺสร (ราช + อิสฺสร) หมายถึง พระราชาผู้ยิ่งใหญ่
(17) ปรมสูรวงฺส (ปรม + สูร + วงฺส) หมายถึง วงศ์นักรบผู้กล้าหาญเป็นเยี่ยม
(18) ธมฺมิโก แปลว่า ประกอบด้วยธรรม
(19) สมฺมาสมฺพุทฺธก แปลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
(20) วตฺถายิมํ (วตฺถาย + อิมํ) แปลว่า นี้ เพื่อดำรง
(21) จุทฺทสสสหสฺสปฺปมาณ แปลว่า ประมาณสิบสี่พัน
(22) สุวณฺณมยํ แปลว่า สำเร็จด้วยทอง
(23) สมฺพุทฺธพิมฺพํ (สมฺพุทฺธ + พิมฺพํ) แปลว่า รูปเหมือนพระพุทธเจ้า (พระพุทธรูป)
(24) กโรติ แปลว่า ย่อมสร้าง