จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกเจ้าสี่หมื่นผู้เป็นปู่เลี้ยง

จารึก

จารึกเจ้าสี่หมื่นผู้เป็นปู่เลี้ยง ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2564 12:20:47

ชื่อจารึก

จารึกเจ้าสี่หมื่นผู้เป็นปู่เลี้ยง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พย. 46, พย. 46 จารึกเจ้าสี่หมื่นผู้เป็นปู่เลี้ยง พ.ศ. 2033, พย. 46 จารึกเจ้าสี่หมื่นฯ ให้จารสีมาใหม่

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2033

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 25 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 12 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 13 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)
2) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2538)

ผู้ปริวรรต

1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534) 
2) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2538)

ผู้ตรวจ

โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. โครงการวิจัยฯ (2534) : ศักราชะได้ 852 ตัว = เป็นปีจุลศักราช ตรงกับพุทธศักราช 2033
2. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีกดเส็ด = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีจอ โทศก ตามจุลศักราช
3. โครงการวิจัยฯ (2534) : เดิน 6 = เดือน 6 ภาคเหนือ ตรงกับเดือน 4 ภาคกลาง
4. โครงการวิจัยฯ (2534) : ออก = ขึ้น, ข้างขึ้น
5. โครงการวิจัยฯ (2534) : พร่ำ = ตรงกับ
6. โครงการวิจัยฯ (2534) : อารุณ = อรุณ
7. โครงการวิจัยฯ (2534) : หรคุณ = จำนวนวันที่ล่วงมา นับตั้งแต่วันตั้งจุลศักราช
8. โครงการวิจัยฯ (2534) : ชระมัว = เช้าตรู่
9. โครงการวิจัยฯ (2534) : เม็ง = มอญ
10. โครงการวิจัยฯ (2534) : สิทธิ = สำเร็จ
11. โครงการวิจัยฯ (2534) : วันเต่าซง้า = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
12. โครงการวิจัยฯ (2534) : ริกษ = ฤกษ์
13. โครงการวิจัยฯ (2534) : อัศวันนี = อัศวินี, เป็นชื่อฤกษ์หมู่ที่ 1 เป็นชื่อ ดาวม้า
14. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “ชืน”
15. โครงการวิจัยฯ (2534) : เจ้าสี่หมื่น = เป็นบรรดาศักดิ์ของเจ้าผู้ครองนครพะเยา
16. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “หมี”
17. โครงการวิจัยฯ (2534) : เจ้าเมิง = เจ้าเมือง
18. โครงการวิจัยฯ (2534) : กินเมิง, กินเมือง = ปกครองบ้านเมือง
19. โครงการวิจัยฯ (2534) : พญาว = พะเยา (ชื่อเมือง)
20. โครงการวิจัยฯ (2534) : สืบ = ต่อจาก
21. โครงการวิจัยฯ (2534) : อาว = น้องชายของพ่อ, อาผู้ชาย
22. โครงการวิจัยฯ (2534) : โบรา = โบราณ
23. โครงการวิจัยฯ (2534) : หัน = เห็น
24. เทิม มีเต็ม : พร่ำเมินนาน = นับเป็นระยะเวลาที่นาน
25. โครงการวิจัยฯ (2534) : หื้อ = ให้
26. โครงการวิจัยฯ (2534) : จานออก = เพิ่มเติมขึ้น, ทำขึ้น
27. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “หื”
28. โครงการวิจัยฯ (2534) : หื้อเสถียรหื้อจำเนียร = ให้มั่นคงถาวร
29. โครงการวิจัยฯ (2534) : เมือ = ไป, กลับ
30. โครงการวิจัยฯ (2534) : ต่อเท้า = จนถึง, ตราบเท่า, ตราบถึง, ตราบกระทั่ง