จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดกลางเวียง

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดกลางเวียง ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 11:27:13

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดกลางเวียง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชร. 34, ชร. 34, จารึกฐานพระพุทธรูปจากวัดกลางเวียง เชียงราย (พ.ศ. 2280)

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา, ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2280

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ศักราช 1099 ตัว” ตรงกับ พ.ศ. 2280 ในรัชกาลองค์คำ (พ.ศ. 2270 – 2302) สมัยราชวงศ์นยองยานของพม่าปกครองล้านนา (พ.ศ. 2157 - 2295) อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2207 เป็นต้นมา เมืองเชียงแสนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นศูนย์กลางเทียบเท่าเชียงใหม่ ผู้ปกครองเชียงแสนซึ่งเป็นขุนนางพม่าจึงมีฐานะเป็น “เมียวหวุ่น” (เจ้าเมือง) เช่นเดียวกับที่เชียงใหม่
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ปีเมืองไส้” / เมิงไส้ คือ ปีมะเส็ง นพศ
3. ฮันส์ เพนธ์ : ตัวอักษรในวงเล็บเป็นอักษรที่อ่านไม่ชัด ส่วนจำนวนจุดแสดงจำนวนโดยประมาณ ของตัวอักษรที่อ่านไม่ได้ อนึ่ง พระพุทธรูปองค์นี้มีความสำคัญทั้งด้านอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์และศิลปกรรม เนื่องจากคำจารึกและพระพุทธรูปของล้านนาในพุทธศตวรรษที่ 23 มีจำนวนไม่มากนัก
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระวรรษา”/วัสสา หมายถึง ปี
5. ฮันส์ เพนธ์ : “นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เมนิจฺจํ ธุวํ” แปลว่า ขอ (ผลบุญที่เกิดจากการสร้างพระพุทธรูป) จงเป็นเครื่องนำข้าพเจ้าไปสู่นิพพานอย่างแน่นอน