จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดอารามป่าน้อย

จารึก

จารึกวัดอารามป่าน้อย ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2564 04:26:23

ชื่อจารึก

จารึกวัดอารามป่าน้อย

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พย. 26 จารึกวัดอารามป่าน้อย พ.ศ. 2037, พย. 26 จารึกวัดอารามป่าน้อย, พย. 26

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2037

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 21 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 15 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 6 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)
2) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2538)

ผู้ปริวรรต

1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)
2) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2538)

ผู้ตรวจ

1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)
2) ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2538)

เชิงอรรถอธิบาย

1. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “ได”
2. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีกาบยี = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีขาล ฉศก ตามจุลศักราช
3. โครงการวิจัยฯ (2534) : ศักราชได้ 856 ตัว = เป็นปีจุลศักราช ตรงกับพุทธศักราช 2037
4. โครงการวิจัยฯ (2534) : พุทธศาสน์ = คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยปริยายทางราชการมักใช้หมายถึง พระราชหัตถเลขา และสิขิตของพระสังฆราช เช่น พระราชสาสน์, สมณสาสน์
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “คำ”
6. โครงการวิจัยฯ (2534) : หูรา = โหรา
7. โครงการวิจัยฯ (2534) : เดิน 11 = ภาคเหนือ ตรงกับเดือน 9 ภาคกลาง
8. โครงการวิจัยฯ (2534) : เดินเจียง = เดือนอ้ายภาคเหนือ ตรงกับเดือน 11 ภาคกลาง
9. โครงการวิจัยฯ (2534) : ออก = ขึ้น, ข้างขึ้น
10. โครงการวิจัยฯ (2534) : วันเปิกเส็ด = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
11. โครงการวิจัยฯ (2534) : เม็ง = มอญ
12. โครงการวิจัยฯ (2534) : วัน 7 = วันเสาร์
13. โครงการวิจัยฯ (2534) : รืก = ฤกษ์
14. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านและปริวรรตเป็น “ปุตราภาทรบท” ซึ่งหมายถึง สิทธิฤกษ์
15. โครงการวิจัยฯ (2534) : บุรพภัทรบท = ชื่อนักษัตริย์ หมู่ที่ 10 (ดาวสัปคับช้าง) มี 3 ดวง
16. โครงการวิจัยฯ (2534) : เจ้าสี่หมื่น = เป็นบรรดาศักดิ์ของเจ้าผู้ครองนครพะเยา
17. โครงการวิจัยฯ (2534) : พยาว = พะเยา (ชื่อเมือง)
18. โครงการวิจัยฯ (2534) : หื้อ = ให้
19. โครงการวิจัยฯ (2534) : พระพุทธเจ้า = ในที่นี้ หมายถึง พระพุทธรูป
20. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “คน”
21. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “นิง”
22. โครงการวิจัยฯ (2534) : ญิง = หญิง, ผู้หญิง
23. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “คน”
24. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “มี”
25. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “จารืก”
26. โครงการวิจัยฯ (2534) : ผากฏ = ปรากฏ
27. โครงการวิจัยฯ (2534) : ชาวเจ้า = พระภิกษุ
28. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “คนผูชวาย”
29. โครงการวิจัยฯ (2534) : เอ้ย = เอื้อย ลูกสาวคนที่หนึ่ง, พี่สาวคนโต
30. โครงการวิจัยฯ (2534) : อี่ = พี่สาวคนที่ 2
31. โครงการวิจัยฯ (2534) : หล้า = สุดท้าย, สุดท้อง
32. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “คน”
33. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “ปาหญยง”
34. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “ชาดนิ”
35. โครงการวิจัยฯ (2534) : เมื่อเมี้ยน = เมื่อตาย
36. โครงการวิจัยฯ (2534) : เมื่อหน้า = ไปภายหน้า, ต่อไปในภายหน้า
37. โครงการวิจัยฯ (2534) : กินเมิง, กินเมือง = ปกครองบ้านเมือง
38. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “นิคดี”
39. โครงการวิจัยฯ (2534) : มล้าง = ล้าง หรือ ฆ่า, รื้อ, ทำลาย, ถอน
40. โครงการวิจัยฯ (2534) : เมิง = เมือง
41. โครงการวิจัยฯ (2534) : โกฐาสบุญ = ส่วนบุญ
42. โครงการวิจัยฯ (2534) : น่าจะเป็นการจารึกตกสระเอ
43. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “ราชธรัม”
44. โครงการวิจัยฯ (2534) : ตน = รูป (ลักษณนามของพระสงฆ์), องค์, พระองค์
45. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2549) : เทิม มีเต็ม อ่านเป็น “ผละ” และปริวรรตเป็น “ผล”
46. โครงการวิจัยฯ (2534) : พระทศราชธรรม คือ ธรรมของพระราชา 10 ประการ ดังนี้ (1) ทาน การให้ (2) ศีล มีศีล (3) บริจาค สละทรัพย์เพื่อสาธารณะ (4) อาชวะ ซื่อตรง (5) มัทวะ อ่อนโยน (6) ตปะ ละความชั่ว (7) อโกธ ไม่โกรธ (8) อวิหิงสะ ไม่เบียดเบียน (9) ขันติ อดทน (10) อวิโรธนะ ไม่ทำความผิด
47. โครงการวิจัยฯ (2534) : ทิน = เทอญ ใช้เป็นคำลงท้ายจบข้อความ