จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกสถานที่ประดิษฐานพระธาตุ

จารึก

จารึกสถานที่ประดิษฐานพระธาตุ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 03:46:22

ชื่อจารึก

จารึกสถานที่ประดิษฐานพระธาตุ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พย. 21, พย. 21 จารึกสถานที่ประดิษฐานพระธาตุ พ.ศ. 2066-2071, พย. 21 จารึกการประดิษฐานพระธาตุ

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา, ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2066-2071

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 25 บรรทัด ด้านที่ 1 มี ประมาณ 15 บรรทัด ด้านที่ 2 มีประมาณ 10 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)
2) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2538)

ผู้ปริวรรต

1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)
2) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2538)

ผู้ตรวจ

โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. โครงการวิจัยฯ (2534) : เมิงพยาว = เมืองพะเยา
2. โครงการวิจัยฯ (2534) : ก้ำหน้า = ข้างหน้า
3. โครงการวิจัยฯ (2534) : กาหลง = ชื่อแม่น้ำ ชื่อเมืองโบราณก็มี เช่น เวียงกาหลง
4. โครงการวิจัยฯ (2534) : เมิงพน = เมืองพน เป็นชื่อเมืองโบราณ
5. โครงการวิจัยฯ (2534) : ท่าสร้อย = ชื่อเมืองซึ่งเป็นท่าเรือโบราณ
6. เทิม มีเต็ม : ดอยเกิง = น่าจะเป็น ดอยเคื่อง หรือ ดอยเขิง
7. โครงการวิจัยฯ (2534) : ก้ำซ้าย = ข้างซ้าย
8. โครงการวิจัยฯ (2534) : ละพูน = เมืองลำพูน
9. เทิม มีเต็ม : คำว่า “ธาตุขร . . .” เห็นจะเป็น “ธาตุขรมอม” = ธาตุกระหม่อม
10. โครงการวิจัยฯ (2534) : กู่คำ = เป็นชื่อวัด ปัจจุบันคือ วัดเจดีย์เหลี่ยม ในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
11. โครงการวิจัยฯ (2534) : กูมกาม = เวียงกุมกาม อยู่ที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
12. โครงการวิจัยฯ (2534) : ศักราช 885 ตัว = เป็นปีจุลศักราช ตรงกับพุทธศักราช 2066
13. เทิม มีเต็ม : เถรเจ้ามณีวัน = คงเป็นพระมหาเถระแห่งสำนักวัดป่าแก้ว (มณี = แก้ว, วน = ป่า)
14. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีเปิกไจ้ = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีชวด สัมฤทธิศก ตามจุลศักราช
15. โครงการวิจัยฯ (2534) : หัน = เห็น
16. โครงการวิจัยฯ (2534) : ดาย = เป็นคำลงท้าย บอกให้ทราบว่าสิ้นประโยค เช่นเดียวกับคำว่า แล, นา, เทียว, ทีเดียว
17. โครงการวิจัยฯ (2534) : เมิง = เมือง