จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดชัยพระเกียรติ 3

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดชัยพระเกียรติ 3 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2564 เวลา 15:32:44

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดชัยพระเกียรติ 3

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 92 จารึกฐานพระพุทธรูปวัดชัยพระเกียรติ 3, 24 วัดชัยพระเกียรติ์, ชม. 92

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2134

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 3 บรรทัด (จารึกด้านหน้าฐานเหลี่ยมของพระพุทธรูป)

ผู้อ่าน

ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519)

ผู้แปล

ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2519)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ศักราชได้ 953 ตัว” เป็นจุลศักราช ตรงกับ พ.ศ. 2134
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ปีรวงเหม้า” คือ ปีเถาะ ตรีศก
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ออก” หมายถึง ข้างขึ้น
4. ฮันส์ เพนธ์ : “ยามกลองงาย” คือ ช่วงเวลา 7.30-9.00 น.
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วันกัดไส้” เป็นชื่อวันไทยโบราณซึ่งรอบหนึ่งมี 60 วัน
6. ฮันส์ เพนธ์ : “วัดไชยผาเกียน” ในโคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งเขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2025-2060 เรียกว่า “(วัด) ผาเกียร” คำว่า “ชัย” ยังไม่ปรากฏในชื่อ ต่อไปเมื่อ พ.ศ. 2108-2109 เจ้าทัพชัยแม่ทัพพม่าได้หล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดนั้น (ดูพระพุทธรูปเลขที่ 22) เมื่อ พ.ศ. 2133 เจ้าหัวหมื่นหลวง สร้างพระพุทธรูปอีกองค์ในวัด (คือองค์นี้) และที่ฐานพระพุทธรูปเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดชัยผาเกียน” จึงสันนิษฐานได้ว่าคำว่า “ชัย” ในชื่อวัดมาจากชื่อเจ้าทัพชัยนั่นเอง
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “หื้อ” หมายถึง ให้
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วัสสา” หมายถึง ปี