จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดป่าใหม่

จารึก

จารึกวัดป่าใหม่ ด้านที่ 2

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2564 เวลา 01:00:49

ชื่อจารึก

จารึกวัดป่าใหม่

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พย. 8, ศิลาจารึกอักษรและภาษาไทย, หลักที่ 101 ศิลาจารึกวัดป่าใหม่, พย. 8 จารึกวัดป่าใหม่ พ.ศ. 2040, พย. 8 จารึกหมื่นลอเทพสร้างวัดป่าใหม่

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2040

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 45 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 21 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 24 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2508)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ปริวรรต

1) ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2508)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ตรวจ

1) ประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2508)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)
3) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (2513)

เชิงอรรถอธิบาย

1. โครงการวิจัยฯ (2534) : หื้อ = ให้
2. ประสาร บุญประคอง : ร้อยซาว = ร้อยยี่สิบ
3. โครงการวิจัยฯ (2534) : เจ้าหมื่น = ชื่อตำแหน่งข้าราชการเหนือกว่าตำแหน่งพันขึ้นไป
4. ประสาร บุญประคอง : ต่อเท้า = ตราบเท่า
5. ประสาร บุญประคอง : ยา = คุณ, ท่าน
6. โครงการวิจัยฯ (2534) : อ้าย = ลูกชายคนที่หนึ่ง, พี่ชายคนโต
7. โครงการวิจัยฯ (2534) : เถ้า = เฒ่า
8. โครงการวิจัยฯ (2534) : เอ้ย, เอื้อย = ลูกชายคนที่หนึ่ง, พี่สาวคนโต
9. โครงการวิจัยฯ (2534) : จังหัน = เป็นสมณโวหาร หมายถึง อาหารทุกชนิดสำหรับพระ
10. ประสาร บุญประคอง : หยาดน้ำ = กรวดน้ำ
11. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีกัดเร้า = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีระกา เอกศก ตามจุลศักราช
12. ประสาร บุญประคอง : เดือน 7 = เดือน 7 ของไทยฝ่ายเหนือ เดือน 5 ของไทยฝ่ายใต้
13. ประสาร บุญประคอง : ออก = ข้างขึ้น 14. ประสาร บุญประคอง : วันกัดเม็ด = เป็นชื่อวันของไทยชนิดหนึ่ง
15. โครงการวิจัยฯ (2534) : พันหนังสือ = ตำแหน่งข้าราชการสมัยโบราณ
16. ประสาร บุญประคอง : จุ่ง, จุง = จง
17. ประสาร บุญประคอง : แถม = อนึ่ง, เติม, เพิ่ม
18. ประสาร บุญประคอง : หุ้มหอม = ห้อมล้อมด้วยความยินดี, ด้วยศรัทธา
19. ประสาร บุญประคอง : อย่าว่ารือ = อย่าว่าอะไร
20. ประสาร บุญประคอง : เจ้าไท = พระสงฆ์ แต่ในที่บางแห่งหมายถึงเจ้านายผู้ใหญ่ พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง