จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดวิสุทธาราม

จารึก

จารึกวัดวิสุทธาราม ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 เวลา 21:11:50

ชื่อจารึก

จารึกวัดวิสุทธาราม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พย. 4, พย. 4 จารึกวัดวิสุทธาราม พ.ศ. 2035

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา, ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2035

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 16 บรรทัด แต่ละด้านมี 8 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)
2) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2538)

ผู้แปล

1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)
2) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2538)

ผู้ตรวจ

1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)
2) ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2538)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ประสาร บุญประคอง : 854 เป็นจุลศักราช = พ.ศ. 2035 ซึ่งผิดกับที่บอกเป็นพุทธศักราชในบรรทัดที่ 3 ว่าตรงกับ พ.ศ. 2037
2. ประสาร บุญประคอง : ปีเต่าไจ้ คือ เต่า = นพศก, ไจ้ = ปีชวด เป็นปีชวด นพศก ของไทยภาคเหนือ แต่ตรงกับปีชวด จัตวาศก ของไทยภาคกลาง เนื่องจากวิธีนับศกของไทยภาคเหนือน้อยกว่าของไทยภาคกลาง 5 ปี เช่น 6 (ฉศก) ของไทยภาคกลาง = 1 (เอกศก) ของไทยภาคเหนือ ในที่นี้จึงอ่านว่า ปีชวด นพศก ของไทยภาคเหนือ
3. ประสาร บุญประคอง : เดิน = เดือน
4. ประสาร บุญประคอง : ยี่ เป็นเดือน 2 ไทยเหนือ = เดือน 12 ไทยภาคกลาง
5. ประสาร บุญประคอง : วันกาบไจ้ ตรงกับชื่อศก และชื่อปีของไทยภาคเหนือ กาบ = เอกศก, ไจ้ = ปีชวด แต่ในที่นี้ใช้เป็นชื่อวันชนิดหนึ่งของไทย คำหน้าเป็นแม่วันไทย หรือแม่มื้อ มีรอบละ 10 วัน คำหลังเป็นลูกวันไทย หรือลูกมื้อ มีรอบละ 12 วัน ฉะนั้นวันหนไทย จึงมีรอบละ 60 วัน
6. ประสาร บุญประคอง : ปุษยฤกษ์ = ดาวปุยฝ้าย
7. ประสาร บุญประคอง : ลุงพระเป็นเจ้าเมิงเชียงราย = ลุงของพระเจ้ายอดเชียงราย
8. ประสาร บุญประคอง : เค้า = ประธาน
9. ประสาร บุญประคอง : หื้อ = ให้
10. ประสาร บุญประคอง : ข่อยสุม, ข่อยสูม = ดงข่อย