จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดนิรัครคัทธาอาราม

จารึก

จารึกวัดนิรัครคัทธาอาราม ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2564 20:07:09

ชื่อจารึก

จารึกวัดนิรัครคัทธาอาราม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 4, คำอ่านศิลาจารึกอักษรไทย ภาษาไทย จ.ศ. 927 (พ.ศ. 2108), หลักที่ 75 ศิลาจารึกได้มาจากวัดร้าง ใกล้น้ำมาง บ้านบ่อหลวง ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอปัว จังหวัดน่าน, นน. 4 จารึกวัดนิรัครคัทธาอาราม พ.ศ. 2108

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2108

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 10 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2504)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ปริวรรต

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2504)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ฤกษ์ที่ 11 เรียกว่า “ปูรฺวผลคุนี” ได้แก่ ดาวเพดานตอนหน้า
2. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีดับเป้า, ปีดับเปล้า = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีฉลู สัปตศก ตามจุลศักราช
3. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เดือน 12 ของไทยฝ่ายเหนือ ตรงกับเดือน 10 ของไทยฝ่ายใต้
4. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : วันกาบไจ้ = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
5. โครงการวิจัยฯ (2534) : เม็ง = มอญ
6. โครงการวิจัยฯ (2534) : วัน 1 = วันอาทิตย์
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จ.ศ. 927 = พ.ศ. 2108
8. โครงการวิจัยฯ (2534) : ตน = รูป (ลักษณนามของพระสงฆ์), องค์, พระองค์
9. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : โขง = เขต
10. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : รัง = แต่ง
11. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : หื้อ = ให้
12. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เจ้าไท = พระสงฆ์ (แต่บางแห่งอาจหมายเอาเจ้านาย – ผู้ใหญ่ก็ได้)
13. โครงการวิจัยฯ (2534) : เย = เยีย คือ ทำ, กระทำ, จง
14. โครงการวิจัยฯ (2534) : กินเมือง = ปกครองบ้านเมือง