จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดเมืองพง (วัดพระเกิด)

จารึก

จารึกวัดเมืองพง (วัดพระเกิด) ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 เวลา 20:03:01

ชื่อจารึก

จารึกวัดเมืองพง (วัดพระเกิด)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 2, แผ่นศิลาจารึก จารึกอักษรไทย ภาษาไทย, หลักที่ 72 ศิลาจารึกพบที่วัดช้างค้ำ จังหวัดน่าน, นน. 2 จารึกวัดเมืองพง (วัดพระเกิด) พ.ศ. 2043

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2043

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 11 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2502)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ปริวรรต

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2502)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีกดสัน = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีวอก โทศก ตามจุลศักราช
2. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เดือน 8 ของไทยฝ่ายเหนือ ตรงกับเดือน 6 ของไทยฝ่ายใต้
3. โครงการวิจัยฯ (2534) : พุทธศาสน์ = คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยปริยายทางราชการมักใช้หมายถึงพระราชหัตถเลขา และลิขิตของพระสังฆราช
4. โครงการวิจัยฯ (2534) : เพ็ง = วันเพ็ญ คือวันที่พระจันทร์เต็มดวง หรือวันขึ้น 15 ค่ำ
5. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เดือน 9 ของไทยฝ่ายเหนือ ตรงกับเดือน 7 ของไทยฝ่ายใต้
6. โครงการวิจัยฯ (2534) : เมิงเม้า, เมิงเหม้า = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เจ้าหน่วย = เป็นหัวหน้าหน่วยกองการกุศล
8. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : นางตนแม่ = ผู้เป็นพระราชมารดา
9. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เทศนาแก่ = ดำรัสแก่
10. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เจ้าพวกมงคล = เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับงานมงคล
11. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : หื้อ = ให้
12. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : 10 ข้าว = 10 ต่าง คือ จุข้าวปลูกที่ใช้หว่านหรือดำ มีจำนวน 10 ต่าง
13. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ขา = เขาทั้งหลาย
14. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ทาน = ให้
15. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : 50 ข้าว = 50 ต่าง คือ จุข้าวปลูกที่ใช้หว่านหรือดำ มีจำนวน 50 ต่าง
16. โครงการวิจัยฯ (2534) : ผ้าขาว = ชายผู้จำศีล นุ่งห่มผ้าขาว