จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดดอกคำ 6

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดดอกคำ 6 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2564 01:50:31

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดดอกคำ 6

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

142 วัดดอกคำ, ชม. 116

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2434

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519)

ผู้แปล

ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2519)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ปีรวงเหม้า” หมายถึง ปีเถาะ ตรีศก
2. ฮันส์ เพนธ์ : “เพ็ง” = เพ็ญ
3. ฮันส์ เพนธ์ : “เม็ง” หมายถึง มอญ ในที่นี้หมายถึง ตามวิธีการนับแบบมอญ
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “หนาน” คือ ผู้ที่สึกในขณะเป็นพระสงฆ์
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ไม้กุ่ม” เป็นต้นไม้ขนาดกลาง เปลือกเรียบ เนื้อไม้ละเอียดสีขาวปนเหลือง ใบมี 3 แฉก ชาวล้านนามีความเชื่อมาแต่โบราณว่าไม่ควรปลูกต้นไม้ชนิดนี้ไว้ใกล้เรือน
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายจารึกแล้วพบว่าน่าจะเป็น “เตฺล้า” เนื่องจากปรากฏรูปตัวเชิง “ล” อย่างชัดเจน
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ชู่” หมายถึง ทุก เช่น “ชู่คน” คือ ทุกคน
8. ฮันส์ เพนธ์ : “สุทินฺนํ พุทฺธรูปํ วตเมทานํ” หมายถึง ทานของข้าพเจ้าให้ด้วยดีแล้วหนอ
9. ฮันส์ เพนธ์ : “พุทฺธรูปํ อุปาสิกา ทานํ อรหนฺตสาวก ทานํ” หมายถึง อุบาสิกาถวายพระพุทธรูปเพื่อขอเป็นสาวก ขอเป็นอรหันต์?
10. ฮันส์ เพนธ์ : “นิพฺพานปจฺจโยโหนฺตุเมนิจฺจํ” หมายถึง ขอ (ผลบุญที่เกิดจากการสร้างพระพุทธรูป) จงเป็นเครื่องนำข้าพเจ้า (ทั้งหลาย) ไปสู่นิพพานอย่างแน่นอน