จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกพอกคำพระเจ้าตนหลวง

จารึก

จารึกพอกคำพระเจ้าตนหลวง ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2564 เวลา 19:05:42

ชื่อจารึก

จารึกพอกคำพระเจ้าตนหลวง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชร. 2 จารึกพอกคำพระเจ้าตนหลวง พ.ศ. 2039, ชร. 2

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2039

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 21 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 8 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 13 บรรทัด

ผู้อ่าน

โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ปริวรรต

โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้ตรวจ

โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. โครงการวิจัยฯ (2534) : เดิน = เดือน
2. โครงการวิจัยฯ (2534) : ออก = ขึ้น, ข้างขึ้น
3. โครงการวิจัยฯ (2534) : รวงเร้า = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
4. โครงการวิจัยฯ (2534) : ริก = ฤกษ์
5. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีระวายสี = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีมะโรง อัฐศก ตามจุลศักราช
6. โครงการวิจัยฯ (2534) : เดิน 10 = เดือน 10 ภาคเหนือ ตรงกับเดือน 8 ภาคกลาง
7. โครงการวิจัยฯ (2534) : วัน 1 = วันอาทิตย์
8. โครงการวิจัยฯ (2534) : เต่าเส็ด = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
9. โครงการวิจัยฯ (2534) : จาริก, จารีก = จารึก (ศิลาจารึก)
10. โครงการวิจัยฯ (2534) : ศักรา (ช) 857 ศักรา (ช) 868 ตัว = เป็นปีจุลศักราช ตรงกับพุทธศักราช 2038 และ 2039
11. โครงการวิจัยฯ (2534) : ปีดับเหม้า = ชื่อปีไทยแบบโบราณ ตรงกับปีเถาะ สัปตศก ตามจุลศักราช
12. โครงการวิจัยฯ (2534) : บ้านเมิง = บ้านเมือง
13. โครงการวิจัยฯ (2534) : เดิน 11 = เดือน 11 ภาคเหนือ ตรงกับเดือน 9 ภาคกลาง
14. โครงการวิจัยฯ (2534) : เพ็ง = วันเพ็ญ คือวันที่พระจันทร์เต็มดวง หรือ วันขึ้น 15 ค่ำ
15. โครงการวิจัยฯ (2534) : ระวายสัน = ชื่อวันไทยแบบโบราณ รอบหนึ่งมี 60 วัน
16. โครงการวิจัยฯ (2534) : เม็ง = มอญ ; เม็งวันพุธ หมายถึง มอญเรียกว่า วันพุธ
17. โครงการวิจัยฯ (2534) : หื้อ = ให้