จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกที่ฐานพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก)

จารึก

จารึกที่ฐานพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2564 เวลา 18:32:55

ชื่อจารึก

จารึกที่ฐานพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 175 อักษรเขียนด้วยหมึกที่ฐานไม้ปิดทอง

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2387

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2517)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2517)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คือ วันพุธ เดือน 9 ขึ้น 15 ค่ำ (เริ่มนับวันอาทิตย์เป็น วัน 1, วัน 4 จึงหมายถึงวันพุธ)
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ฉศก หมายถึง จุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 6 ในที่นี้คือ จ.ศ. 1206 (ตรงกับ พ.ศ. 2387)
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : หลวงเทพรจนา (กัน) เจ้ากรมช่างปั้นซ้าย เป็นช่างปั้นที่มีบทบาทในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยนอกจากงานปั้นรูปพระสังฆราช (สุก) แล้ว ยังมีงานที่สำคัญอีกหลายชิ้น โดยเฉพาะประติมากรรมรูปยักษ์ที่ซุ้มประตูยอดมงกุฏ วัดอรุณราชวราราม
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นพระสังฆราชพระองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประสูติ เมื่อพ.ศ. 2276 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ (สมัยอยุธยาตอนปลาย) พระสังฆราชองค์นี้เป็นที่นับถือของพระราชวงศ์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เนื่องจากเคยเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตั้งแต่ครั้งยังเป็น อาจารย์สุก วัดท่าหอย พระนครศรีอยุธยา เมื่อทรงขึ้นครองราชย์จึงนิมนต์มาเป็นราชาคณะที่วัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) กรุงเทพฯ อีกทั้งยังทรงเป็นพระกรรมวาจารย์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงอิสรสุนทร (รัชกาลที่ 2) เมื่อคราวผนวช และเป็นพระอาจารย์ของรัชกาลที่ 3 (ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 1) อีกด้วย พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อ พ.ศ. 2362 ในสมัยรัชกาลที่ 2 อีก 2 ปีต่อมาก็สิ้นพระชนม์
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : พระศรีรัตนมหาธาตุมหาวิหารพระอารามหลวง เดิมชื่อวัดสลัก สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมา รัชกาลที่ 1 โปรดให้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดนิพพานาราม วัดพระศรีสรรเพชญ์และวัดมหาธาตุตามลำดับ ต่อมารัชกาลที่ 5 ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมารซึ่งสวรรคตลง จึงโปรดให้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติมาจนถึงปัจจุบัน