อายุ-จารึก พ.ศ. 2387, อายุ-จารุกพุทธศตวรรษที่ 24, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 3, วัตถุ-จารึกบนไม้สัก, ลักษณะ-จารึกบนฐานประติมากรรม, ภาษา-จารึกภาษาไทย, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระประติมากรรม, บุคคล-พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, บุคคล-หลวงเทพรจนา เจ้ากรมช่างปั้นซ้าย, บุคคล-สมเด็จพระสังฆราช (สุก),
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 13:49:30 )
ชื่อจารึก |
จารึกที่ฐานพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
หลักที่ 175 อักษรเขียนด้วยหมึกที่ฐานไม้ปิดทอง |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
พุทธศักราช 2387 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ไม้สัก ปิดทอง |
ลักษณะวัตถุ |
ฐานประติมากรรม |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 46 ซม. สูง 8 หนา 2 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 175 อักษรเขียนด้วยหมึกที่ฐานไม้ปิดทอง” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 79. |
ประวัติ |
จารึกนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ใน พ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า “หลักที่ 175 อักษรเขียนด้วยหมึกที่ฐานไม้ปิดทอง” ปัจจุบันอยู่ภายในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร พระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) องค์นี้มีขนาดเท่าพระองค์จริง รัชกาลที่ 3 โปรดให้สร้างขึ้น เข้าใจว่า ทรงมีพระราชดำริที่จะเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดมหาธาตุฯ ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระสังฆราช แต่ในขณะนั้นการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ รัชกาลที่ 3 ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระรูปดังกล่าวจึงยังอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามจนกระทั่งรัชกาลที่ 4 โปรดให้เชิญไปที่วัดมหาธาตุใน พ.ศ. 2395 ฐานพระรูปองค์นี้ มีลวดลายจำหลักรูปไก่เถื่อนซึ่งเป็นพระฉายาของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ซึ่งประชาชนเรียกว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน” เนื่องจากมีความเชื่อว่าทรงบำเพ็ญพรหมวิหารทำให้ไก่ป่าเชื่องเป็นไก่บ้านได้ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
พ.ศ. 2387 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โปรดให้หลวงเทพรจนา เจ้ากรมช่างปั้นซ้าย ทำการหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
ศักราชที่ปรากฏในจารึกนี้ คือ “จุลศักราช 1206” ตรงกับ พ.ศ. 2387 (สมัยรัชกาลที่ 3) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517) |