จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกในวิหารพระเหลือ

จารึก

จารึกในวิหารพระเหลือ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เวลา 13:34:35

ชื่อจารึก

จารึกในวิหารพระเหลือ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พล. 6, หลักที่ 176 จารึกในพระวิหารพระเหลือ

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2413

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 18 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2517)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2517)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ศุภมัศดุ มาจากคำว่า ศุภํ + อัสตุ หมายถึง ความดี/ความงามจงมี
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ลุ แปลว่า ถึง
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ศักราช 1228 คือ จุลศักราช 1228 ตรงกับพุทธศักราช 2409 (จ.ศ. อายุน้อยกว่า พ.ศ. 1181 ปี ดังนั้นเมื่อต้องการทำ จ.ศ.ให้เป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 1181)
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คือ วันอังคาร เดือน 11 แรม 9 ค่ำ (เริ่มนับจากวัน 1 คือวันอาทิตย์)
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : อัฐศก หมายถึง จุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 8 ในที่นี้ก็คือ จ.ศ. 1228 นั่นเอง
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าเณรจุฬาลงกรณ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) ในเวลาต่อมา ทรงเป็นพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 4) กับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีนาถ พระองค์ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2409 โดยประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ฉ้อฟ้า = ช่อฟ้า เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา อยู่ในส่วนปลายสุดของหลังคาทั้ง 2 ด้าน รูร่างคล้ายนก คือ มีจงอยปากตรงส่วนกลาง ตรงปลายเป็นรูปเรียวโค้ง ปลายสะบัด
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ใบรกา = ใบระกา มีลักษณะเป็นครีบเรียวโค้ง แหลมเหมือนปลายมีด เรียงประดับอยู่ระหว่างช่อฟ้าและหางหงส์บนสันด้านบนตลอดแนวของตัวลำยอง
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : พระเหลือ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานภายในประดิษฐานในวิหารน้อย (วิหารพระเหลือ) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บริเวณด้านหน้าวิหารพระพุทธชินราช สร้างขึ้นจากเศษทองสำริดที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา
10. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : พระสาวกทั้ง 2 คือ พระสารีบุตร และพระโมคคัลานะ หล่อขึ้นจากเศษทองที่เหลือจากการหล่อพระเหลือ
11. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เอกศก หมายถึง จุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 1 ในที่นี้คือ จ.ศ. 1231 (พ.ศ. 2412) นั่นเอง
12. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : โทศก หมายถึง จุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 2 ในที่นี้คือ จ.ศ. 1232 (พ.ศ. 2413)
13. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ไตรยจีวร = ไตรจีวร หมายถึง ผ้า 3 ผืนของพระภิกษุ ได้แก่ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงฆ์ (จีวร) และ สังฆาฏิ (ผ้าทาบ)
14. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ตาดเทศ ตาดเป็นผ้าที่ทอด้วยไหมควบกับเงินแล่งหรือทองแล่ง (เงิน/ทองที่รีดเป็นเส้นบางๆ) จำนวนเท่ากัน
15. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : น่าครุย = หน้าครุย ครุย หมายถึง ชายผ้าที่ทำเป็นเส้นๆ
16. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : วา เป็นมาตราวัด เท่ากับ 4 ศอก (2 เมตร)
17. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : แพรศรีทับทิม = แพรสีทับทิม (สีแดง) แพรเป็นผ้าที่มีเนื้อลื่น เรียบเป็นมัน ทอด้วยใยไหม
18. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อด้วยทองสำริด สูง 7 ศอก ศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานในพระวิหารด้านทิศตะวันตก
19. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คือวันเสาร์ เดือน 7 ขึ้น 6 ค่ำ (นับจากวัน 1 คือ วันอาทิตย์)
20. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : บิณฑิบาตร = บิณฑบาต หมายถึง อาหาร
21. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คฤหัฐ = คฤหัสถ์ หมายถึง ผู้ครองเรือน, ผู้ที่ไม่ใช่นักบวช