จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกบนแผ่นไม้สักที่ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี

จารึก

จารึกบนแผ่นไม้สักที่ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2564 02:31:09

ชื่อจารึก

จารึกบนแผ่นไม้สักที่ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

กจ. 2

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2378

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 38 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2517)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ประสาร บุญประคอง : ปีมะโรงจัตวาศก ตรงกับจุลศักราช 1194 พ.ศ. 2375
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ปรบไก่ คือ เพลงพื้นเมืองประเภทหนึ่ง มีการตบมือให้จังหวะและร้องแก้กันเหมือนเพลงฉ่อย
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ผ้าสบง คือ ผ้านุ่งของพระภิกษุ สามเณร
4. ประสาร บุญประคอง : วันศุกร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ในที่นี้ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2378 แต่เป็นปีมะแม มิใช่ปีระกา (ตามที่ระบุในจารึก)
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : รามัญ คือ ชนชาติมอญ
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : พระยาท้ายน้ำ
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เครื่องอาถรรพ์ เทียนไชย สายสิญจน์ แผ่นทองแดงอาถรรพ์ ศิลาอาถรรพ์ รูปราชสีห์ รูปช้าง รูปเต่า
8. ประสาร บุญประคอง : วันพฤหัสบดี เดือน 6 แรม 3 ค่ำ ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2378 ส่วน บาท เป็นมาตรานาฬิกา 1 บาท เท่ากับ 6 นาที ดังนั้น 9 บาท คือ 54 นาที
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : จุลศักราช 1193 ปีเถาะ ตรีนิศก ตรงกับ พ.ศ. 2374
10. ประสาร บุญประคอง : คำว่า “ล่วง” จารึกไว้บนหลักไม้สัก แต่ในหลักศิลาทรายสีแดงจารึกว่า “ผู้ทำ”
11. ประสาร บุญประคอง : คำว่า “ไทย” จารึกไว้บนหลักไม้สัก แต่ในหลักศิลาทรายสีแดงจารึกว่า “ไพร่”
12. ประสาร บุญประคอง : วันพฤหัสบดี เดือน 6 แรม 3 ค่ำ ปีมะโรง จัตวาศก ตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2375
13. ประสาร บุญประคอง : วันจันทร์ เดือน 4 แรม 13 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2375
14. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ปฏิสังขรณ์ ความหมายในสมัยโบราณคือการรื้อแล้วสร้างใหม่ ต่างจากปัจจุบันซึ่งหมายถึงการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมให้มากที่สุด
15. ประสาร บุญประคอง : อิมินา ปุญญกมฺเมน แปลว่า ด้วยบุญกรรมนี้
16. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : หิตานุหิตประโยชน์ หมายถึง ประโยชน์เกื้อกูลน้อยใหญ่
17. ประสาร บุญประคอง : ปัจจโย โหตุ แปลว่า ขอจงเป็นปัจจัย