จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดอัษฎางค์นิมิตร 3

จารึก

จารึกวัดอัษฎางค์นิมิตร 3 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 เวลา 22:37:02

ชื่อจารึก

จารึกวัดอัษฎางค์นิมิตร 3

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชล. 4, ชล. 4, ชล. 4 จารึกวัดอัษฎางคนฤมิตร (แผ่นที่ 3), หลักที่ 251 ศิลาจารึก วัดอัษฎางคนิมิต

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 25 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2521)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2521)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : สัญญา หมายถึง การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและอารมณ์ที่เกิดกับใจและจำได้ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้นๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก (ข้อ 3 ในขันธ์ 5) มี 6 อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง เป็นต้น; ความหมายสามัญในภาษาบาลีว่าเครื่องหมาย ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้นๆ
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : วิญญาณ หมายถึง ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต, ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน เช่นรู้อารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตาเป็นต้น ได้แก่ การเห็น การได้ยิน เป็นต้น
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ปราภวสูตร เป็นพระสูตรในขุททกนิกาย กล่าวถึงทางแห่งความเสื่อม
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ขันธ์ หมายถึง กอง, พวก, หมวด, หมู่, ลำตัว; หมวดหนึ่งๆ ของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดที่แบ่งออกเป็นห้ากอง คือ รูปขันธ์ กองรูป เวทนาขันธ์ กองเวทนา สัญญาขันธ์ กองสัญญา สังขารขันธ์ กองสังขาร วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ เรียกรวมว่า เบญจขันธ์ (ขันธ์ 5)
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : อายตนะ หมายถึง ที่ต่อ, เครื่องติดต่อ, แดนต่อความรู้, เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, หูเป็นเครื่องรู้ เสียงเป็นสิ่งที่รู้ เป็นต้น
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : อนัตตา หมายถึง ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ตามสัตติกำลัง หมายถึง ตามความสามารถ และตามกำลัง หรือตามกำลังความสามารถ (สัตติ = ความสามารถ) มาจากคำบาลีว่า ยถาสตฺติ ยถาพลํ