จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดจุฬามณี

จารึก

จารึกวัดจุฬามณี ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 เวลา 20:19:57

ชื่อจารึก

จารึกวัดจุฬามณี

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พล. 4

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 2224

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 38 บรรทัด

ผู้อ่าน

กองหอสมุดแห่งชาติ (พ.ศ. 2512)

ผู้ปริวรรต

1. ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2510)
2. กองหอสมุดแห่งชาติ (พ.ศ. 2512)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ลุ แปลว่า ถึง
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ศักราช 826 เป็นจุลศักราช ซึ่งอายุน้อยกว่าพุทธศักราช 1181 ปี ดังนั้นหากต้องการทำให้เป็นพุทธศักราชให้บวกด้วย 1181 จะตรงกับ พ.ศ. 2007 ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ปีวอกนักษัตร เป็นปีนักษัตรลำดับที่ 9 ใน 12 นักษัตร สัญลักษณ์คือ ลิง (ไทยรับการเรียกปีแบบนี้มาจากขอม)
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : น้นน คือ นั้น
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : สมเดจ คือ สมเด็จ
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : สมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนารถ คือ พระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครองราชย์ พ.ศ. 1991-2031)
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เปน คือ เป็น
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : อาราม หมายถึง วัด
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เสดจ คือ เสด็จ
10. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : มหาภิเนษกรม คือ บวช
11. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : น้นน ดูเชิงอรรถที่ 4
12. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : สามเมือง ได้แก่ ล้านช้าง (ลาว) เชียงใหม่ และ หงสาวดี (เมืองหลวงของมอญ)
13. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : พญาล้านช้าง หมายถึง พระเจ้าไชยจักรพรรดิ์ (ครองราชย์ พ.ศ. 1981 (บางแห่งว่าเป็น 1999)-2022) พระโอรสของพระเจ้าสามแสนไทกับเหสีผู้เป็นธิดาของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
14. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : มหาราชพญาเชียงใหม่ ในขณะนั้นคือ พระเจ้าติโลกราช (ครองราชย์ พ.ศ. 1984-2030)
15. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : พญาหงษาวดี คือ พญาหงสาวดี หมายถึง กษัตริย์มอญ
16. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : อัฐบริขาร หมายถึง เครื่องใช้ของสงฆ์ 8 อย่าง ได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกน เข็ม ประคดเอว และผ้ากรองน้ำ
17. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ศักราช 827 ตรงกับ พ.ศ. 2008
18. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ปีรกา (ระกา)นักษัตร คือปีไก่ เป็นปีนักษัตรลำดับที่ 10 ใน 12 นักษัตร
19. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ครุเทพวาร หมายถึง วันพฤหัสบดี
20. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : สมเดจ ดูเชิงอรรถที่ 5
21. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เปน ดูเชิงอรรถที่ 7
22. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : สมเดจ ดูเชิงอรรถที่ 5
23. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เอารส คือ โอรส (คงเป็นอิทธิพลจากการเขียนอักษรขอม ภาษาบาลี ซึ่งเ+า เป็น โ- )
24. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เสดจ ดูเชิงอรรถที่ 9
25. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : สมเดจ ดูเชิงอรรถที่ 5
26. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เปน ดูเชิงอรรถที่ 7
27. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เถิง คือ ถึง
28. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เอารส ดูเชิงอรรถที่ 23
29. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : พฤฒามาตย์ หมายถึง อำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่
30. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เสดจ ดูเชิงอรรถที่ 9
31. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ลาผนวช หมายถึง สึก
32. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : โทศก คือ ปีที่ลงท้ายด้วยเลข 2
33. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : พระครูธรรมไตรโลกนารถราชมุนีสีลวิสุทธาจารย์ คือ ฉายาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขณะผนวชเป็นภิกษุ
34. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : อธิการ หมายถึง เจ้าอาวาส
35. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : จุลามณี คือ จุฬามณี ปัจจุบันวัดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าทอง จ.พิษณุโลก เข้าใจว่าสร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย เพราะเดิมเป็นเทวสถานขอม ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ปรับเป็นวัดในพุทธศาสนาเมื่อคราวที่ทรงผนวช เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 ให้แก่พม่า วัดดังกล่าวจึงร้างไป และถูกพบอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2451 โดยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
36. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : รอยพระพุทธบาท คือ รอยพระบาทของพระพุทธเจ้าซึ่งในปุณณัณลาทสูตรกล่าวว่า รอยที่พระพุทธองค์เสด็จไปเหยียบด้วยพระองค์เองมี 5 แห่ง ได้แก่ ที่เขาสุวรรณมาลิก เขาสุวรรณบรรพต เขาสุมณกูฏ เมืองชัยนถบุรี และที่แม่น้ำนัมมทามที (ส่วนที่เหลือเป็นพระพุทธบาทจำลองซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อบูชาแทนองค์พระพุทธเจ้า) ประเพณีการบูชารอยพระพุทธบาทในสมัยอยุธยานั้นได้รับอิทธิพลมาจากสุโขทัย โดยมีการพบรอยพระพุทธบาทครั้งแรกในสมัยพระเจ้าทรงธรรม (เขาสุวรรณบรรพต จ. สระบุรี) ทรงโปรดให้สร้างมณฑปครอบไว้และเสด็จไปนมัสการทุกปี กษัตริย์อยุธยาพระองค์ต่อๆ มาก็สืบประเพณีดังกล่าวเรื่อยมาจนถึงยุคปัจจุบัน
37. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : สมเดจ ดูเชิงอรรถที่ 5
38. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ธรมิกราชาธิราชเจ้า (ธรรมิกราชาธิราชเจ้า) ในที่นี้หมายถึง พระครูธรรมไตรโลกนารถราชมุนีสีลวิสุทธาจารย์ (สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ)
39. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : อณุญาต คือ อนุญาต
40. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เปน ดูเชิงอรรถที่ 7
41. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : จาฤก คือ จารึก
42. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : พระราชวงษาวดาร คือ พระราชพงศาวดาร
43. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : กัลปนา คือ การยกสิ่งของหรือที่ดินแก่วัด โดยนำผลประโยชน์ที่ได้มาบำรุงวัดและพระศาสนา
44. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ข้าพระ บุคคลที่ถูกยกให้เป็นผู้ดูแลวัด และพระสงฆ์(หากมีลูกหลานก็ต้องเป็นข้าพระสืบต่อไป)
45. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : จุลามณี ดูเชิงอรรถที่ 38
46. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ประจุ หมายถึง บรรจุ
47. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เกษา คือ เกศา แปลว่า ผม
48. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ข้าพระพุทธบาท คือ ข้าพระที่มีหน้าที่ดูแลพระพุทธบาท
49. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ศักราช 1043 ตรงกับ พ.ศ. 2224 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
50. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ปีรกา (คือ ระกา) ปีไก่ เป็นปีนักษัตรลำดับที่ 9 ใน 12 นักษัตร
51. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ตรีณิศก หมายถึงปีที่ลงท้ายด้วย 3
52. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : วันสุกร คือ วันศุกร์
53. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : พระศรีสุเรนทราบดี คือเจ้ากรมสุรัสวดีขวา ทำหน้าที่บัญชาการเกี่ยวกับการทหารในหัวเมืองฝ่ายเหนือ (กรมสุรัสวดี คือ หน่วยงานของทางราชการที่มีหน้าที่ทำสารบัญชีคือการเกณฑ์คนเข้ารับราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน แบ่งออกเป็น สุรัสวดีกลาง สุรัสวดีขวา และสุรัสวดีซ้าย)
54. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : สิบเบจ คือ สิบเอ็ด
55. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : รกานักษัตร ดูเชิงอรรถที่ 54
56. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ตรีนิศก คือ ตรีณิศก (ดูเชิงอรรถที่ 55)
57. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : พระศรีสรรเพชญสมเดจพระรามาธิบดีศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิศวรราชาธิราชเมศวรธรรมิกราชเดโชชัยบรมเทพาดิเทพตรีภูวนาธิเบศรโลกเชษฐวิสุทธิ มกุฎพุทธางกูรบรมจักรพรรดิศวรธรรมิกราชาธิราช หมายถึง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
58. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เสดจ ดูเชิงอรรถที่ 9
59. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : สุริยาศอมรินทรราช คือ พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์มหาปราสาท ซึ่งสันนิษฐานกันว่าสร้างในสมัยพระนารายณ์ โดยสร้างทับพระที่นั่งองค์เดิม คือพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาทซึ่งสร้างในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ พระที่นั่งมีลักษณะเป็นจตุรมุข (4 มุข) ก่ออิฐถือปูน
60. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : อุตราภิมุข คือ มุขด้านทิศเหนือ
61. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : พระพิมลธรรม พำนักอยู่วัดระฆังหรือวัดวรโพธิ ซึ่งอยู่ด้านหลังพระราชวังด้านตะวันตก นับเป็นพระสงฆ์ที่มีบทบาทในสมัยพระนารายณ์โดยเป็นพระอาจารย์สอนภาษาไทยและโหราศาสตร์ โดยเฉพาะวิชาจับยามสามตา
62. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : น้นน ดูเชิงอรรถที่ 4
63. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เปน ดูเชิงอรรถที่ 7
64. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : แตกฉานซ่านเซน หมายถึง กระจัดกระจาย
65. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เปน ดูเชิงอรรถที่ 7
66. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ทัง คือ ทั้ง
67-69. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : จุลามณี ดูเชิงอรรถที่ 38