จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกแผ่นดีบุก วัดมหาธาตุ

จารึก

จารึกแผ่นดีบุก วัดมหาธาตุ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2564 19:58:37

ชื่อจารึก

จารึกแผ่นดีบุก วัดมหาธาตุ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อย. 2, จารึกแผ่นดีบุกภาษาไทย วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, หลักที่ 42 จารึกแผ่นดีบุกภาษาไทย วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา,

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 1917 (โดยประมาณ)

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 33 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 18 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 15 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2501, 2508 และ 2527)

ผู้ปริวรรต

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2501, 2508 และ 2527)

ผู้ตรวจ

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2501, 2508 และ 2527)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระพุทธพิมพ์” แนวความคิดดั้งเดิมในการสร้างพระพิมพ์นั้น เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในการไปบูชาสังเวชนียสถานทางพุทธศาสนา 4 แห่ง ได้แก่ สถานที่ประสูติ (สวนลุมพินี) ตรัสรู้ (พุทธคยา) ปฐมเทศนา (สารนาถ) และปรินิพพาน (กุสินารา) ต่อมากลายเป็นวัตถุที่คนยากจนนิยมสร้างไว้เพื่อบูชา หลังจากนั้นได้เกิดความเชื่อที่ว่าพุทธศาสนาจะเสื่อมลงในพุทธศักราช 5000 ตามคัมภีร์ของลังกา จึงได้มีการสร้างพระพิมพ์และจารึกคาถาเย ธมฺมา ซึ่งเป็นหัวใจพุทธศาสนาขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยมีการฝังพระพิมพ์ไว้ตามเจดีย์ต่างๆ หากพุทธศาสนาเสื่อมไป ไม่มีใครรู้จักหลักธรรมต่างๆ อีก เมื่อมาพบพระพิมพ์เหล่านี้ ก็อาจมีการฟื้นฟูศาสนาขึ้นใหม่ แต่ในปัจจุบันพระพิมพ์กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนนิยมมีไว้เป็นเครื่องราง ของขลัง เพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ ซึ่งต่างไปจากแนวคิดเดิม
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ถ้วน” หมายถึง ครบ, เต็มตามจำนวนที่กำหนด
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระรัตนตรัย” (แก้วสามประการ) คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
4. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “สัดปกรณาภิธรรม์” ตรงกับภาษาบาลีว่า สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม คือ พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ ได้แก่ สงฺคิณี วิภงฺค ธาตุกถา ปุคฺคลปญฺญตฺติ กถาวตฺถุ ยมก ปฏฺฐาน โดยมีการย่อเพื่อให้จดจำได้ง่าย คือ “สํ วิ ธา ปุ ก ย ป”
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “กัลปนา” โดยทั่วไปหมายถึง การอุทิศที่ดิน สิ่งของรวมถึงผู้คนเพื่อเป็นผลประโยชน์แก่วัดและพุทธศาสนา ในที่นี้หมายถึง อุทิศ
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ไตรภพ” ทางพุทธศาสนา หมายถึง ภพทั้ง 3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ (สำหรับวรรณคดีสันสกฤตจะหมายถึง สวรรค์ โลกมนุษย์และบาดาล)
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “สบ” หมายถึง ทุกๆ (ภาษาเขมร)
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สาธุชน” หมายถึง คนดี
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ดุสิต” คือ สวรรค์ชั้นที่ 4 ใน 6 ชั้น มีปราสาทและอุทยานที่สวยงาม เป็นที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ที่จะมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้าในโลกมนุษย์รวมถึงพระศรีอารย์
10. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “คัล” หมายถึง เฝ้า (ภาษาเขมร)
11. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระไมตรี” หมายถึง พระศรีอารย์ อนาคตพุทธเจ้า ซึ่งจะลงมาตรัสรู้หลังจากพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน (โคตมพุทธ) ปรินิพพานไปแล้ว 5,000 ปี
12. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระศรีสรรเพชญ์” หมายถึง พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน (โคตมพุทธ)
13. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “อุตบัติ” (อุบัติ) หมายถึง เกิด
14. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ปราชญ์” หมายถึง มีปํญญารอบรู้
15. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “โอยทาน” หมายถึง ให้ทาน
16. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สาธุ” หมายถึง ดี, ชอบ
17. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ขพุง” หมายถึง ส่วนสูง หรือ ประเสริฐ (ภาษาเขมร)
18. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ภุล” หมายถึง เกิด (ภาษาเขมร) ในศิลาจารึกเขมรที่นครวัดแปลว่า “ประสูติ” เช่น “ภุลพฺระราชบุตฺร” ส่วนในไตรภูมิพระร่วง ใช้คำว่า “พูนเกิด” เช่น “ เพื่อเขาพูนเกิดเป็นรูปกายเที่ยว”
19. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จีพร” หมายถึง จีวร ซึ่งเป็น 1 ในเครื่องอัฐบริขาร (เครื่องใช้ 8 อย่างของพระสงฆ์) ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกน เข็มเย็บผ้า ประคดเอว (ผ้ารัดเอว) และผ้ากรองน้ำ
20. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : อย่าพักกรโกนเกศ หมายถึง ไม่ต้องรอเอามือโกนผม