จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดตะพาน

จารึก

จารึกวัดตะพาน ด้านที่ 2

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2564 18:15:47

ชื่อจารึก

จารึกวัดตะพาน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สฎ. 5, ศิลาจารึกอักษรและภาษาไทยได้มาจากวัดตะพาน อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี, หลักที่ 304 จารึกวัดแวง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 1935-1970

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 42 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 22 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 20 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2511)

ผู้ปริวรรต

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2511)

ผู้ตรวจ

ประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2511)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ประสาร บุญประคอง : “โสด” แปลว่า ทีเดียว
2. ประสาร บุญประคอง : “สิ่งสิน” หมายถึง สิ่งของ, ทรัพย์สิน
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พิหาร” ในสมัยพุทธกาลหมายถึงที่อยู่ของสงฆ์ แต่ต่อมาความหมายเปลี่ยนไป โดยมักหมายถึงอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่กับโบสถ์
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ชั่ง” เป็นมาตราเงินเท่ากับ 20 ตำลึง (80 บาท)
5. ประสาร บุญประคอง : “เรียบ” ในความหมายว่า จัดแต่ง
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ธ” หมายถึง ท่าน, เธอ (สรรพนามบุรุษที่ 3)
6. ประสาร บุญประคอง : “จำนอง” หมายถึง กำหนด
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “…สรรเพชญเป็นพระพุทธเจ้าตนหนึ่งในกาลจักมาภายหน้าโพ้น” หมายถึง พระศรีอารยเมตไตรย, พระศรีอารย์ (ดูข้อ 9)
8. ประสาร บุญประคอง : “จุง” หมายถึง จง
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระศรีอาริยไมตรี” หมายถึง พระศรีอารยเมตไตรย์, พระศรีอารย์ อนาคตพุทธเจ้า คือ ผู้ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป หลังจากพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน (โคตมพุทธ) ปรินิพพานไปแล้ว 5,000 ปี
10. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ผิ” หมายถึง ถ้า, หาก, แม้น
11. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “กินเมือง” หมายถึง ครองเมือง