จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดตะพาน

จารึก

จารึกวัดตะพาน ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2564 18:15:47

ชื่อจารึก

จารึกวัดตะพาน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สฎ. 5, ศิลาจารึกอักษรและภาษาไทยได้มาจากวัดตะพาน อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี, หลักที่ 304 จารึกวัดแวง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 1935-1970

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 42 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 22 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 20 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2511)

ผู้ปริวรรต

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2511)

ผู้ตรวจ

ประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2511)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ประสาร บุญประคอง : เดิมให้คำอ่านไว้ว่า “น้อง” นายวินัย พงศ์ศรีเพียร ขอแก้เป็น “นอง” ซึ่งมีความหมายว่า เนืองนอง, เต็มไปด้วย
2. ประสาร บุญประคอง : “ผอง” หมายถึง ทั้งปวง, ทั้งหมด
3. ประสาร บุญประคอง : “เหน้า” หมายถึง รุ่น, หนุ่ม, สาว
4. ประสาร บุญประคอง : “ปอง” หมายถึง มุ่ง, หวัง, มุ่งหมาย
5. ประสาร บุญประคอง : “หั้น” หมายถึง นั้น
6. ประสาร บุญประคอง : “เถิง” หมายถึง ถึง
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ชาวเจ้า” หมายถึง พระสงฆ์
8. ประสาร บุญประคอง : เพ็ง หมายถึง เพ็ญ
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จังหัน” หมายถึง อาหาร (ใช้กับพระสงฆ์)
10. ประสาร บุญประคอง : “พระยาเจ้า” หมายถึง พระเจ้าอยู่หัว
11. ประสาร บุญประคอง : “ร้อยซาว” หมายถึง 120
12. ประสาร บุญประคอง : “เข้า” เป็นหน่วยบอกจำนวนนา หรือจำนวนแปลง
13. ประสาร บุญประคอง : เดิมอ่านคำนี้เป็น “วัดตะ” ทุกแห่ง