จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดเทพจันทร์

จารึก

จารึกวัดเทพจันทร์ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 เวลา 17:34:41

ชื่อจารึก

จารึกวัดเทพจันทร์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึกอักษรไทย ภาษาไทย สมัยอยุธยา, หลักที่ 91 ศิลาจารึกวัดเทพจันทร์, อย. 3

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 2277

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 20 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2507), (พ.ศ. 2513)

ผู้ปริวรรต

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2507), (พ.ศ. 2513)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2513)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ศุภมัสดุ” มาจากภาษาสันสกฤต ศุภํ + อัสตุ หมายถึง ขอความดี, ความงามจงมี
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “อาทิ” หมายถึง ต้น
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “2288” เมื่อพิจารณาจากจุลศักราชที่ปรากฏในบรรทัดเดียวกันว่า “…จุลศักราช 1096” ทำให้ทราบว่า พุทธศักราชที่ถูกต้อง คือ 2277
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สังขยา” หมายถึง การนับ, การคำนวณ
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ปีขาล” (ปีเสือ) เป็นปีนักษัตรลำดับที่ 3 ใน 12 นักษัตร คนไทยรับการเรียกปีเช่นนี้มาจากขอม
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ฉศก” หมายถึง ปีที่ลงท้ายด้วย 6 เช่น ในที่นี้ก็คือ 1096
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จุลศักราช” เป็นศักราชที่รับมาจากพม่า มีการใช้อย่างแพร่หลายทั้งในล้านนา สุโขทัย และ อยุธยา อายุน้อยกว่าพุทธศักราช 1181 ปี (ดังนั้นหากต้องการทำให้เป็นพุทธศักราช ให้นำเลขจุลศักราชบวกด้วย 1181)
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “อธิการ” หมายถึง เจ้าอาวาส
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วัดจงกรม” ปัจจุบันเป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก เฉียงเหนือของ วัดศรีโพธิ์ ตำบลคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเจดีย์แปดเหลี่ยมระฆังเรียวสูง ใต้องค์ระฆังของเจดีย์ประธานมีซุ้ม ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีบันทึกว่าเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลา 16 องค์ ในลักษณะทำทักษิณาวรรต โดยรอบเจดีย์ อันเป็นที่มาของชื่อวัดจงกรม แต่ปัจจุบันพระพุทธรูปดังกล่าวได้สูญหายไปหมดแล้ว วัดจงกรม เป็นวัดที่ไม่มีบันทึกการสร้าง แต่มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่มีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา บริเวณวัดยังปรากฏโบราณสถานที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เช่น โบสถ์ วิหาร และเจดีย์เหลี่ยมบนฐานสูง
10. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “มัคนายก” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายไว้ว่า “ผู้นำทาง คือผู้จัดการทางกุศล หรือผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด”
11. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ทายก” หมายถึง ผู้ถวายจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร หากเป็นผู้หญิงเรียกว่า ทายิกา
12. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ปฏิสังขรณ์” ความหมายในสมัยโบราณหมายถึง การรื้อถอนลงแล้วสร้างขึ้นใหม่ โดยอาจมีรูปแบบหรือตำแหน่งเดิมหรือไม่ก็ได้ ต่างจากปัจจุบันซึ่งหมายถึง การทำให้กลับคืนสู่สภาพอย่างที่เคยเป็นมา
13. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วิหาร” ในสมัยพุทธกาลหมายถึงที่อยู่ของสงฆ์ แต่ต่อมาความหมายเปลี่ยนไป โดยมักหมายถึงอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่กับโบสถ์
14. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ปัจจัย” ในที่นี้ หมายถึง เงิน
15. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ก่อ” หมายถึง สร้าง
16. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ชั่ง” เป็นมาตราเงินเท่ากับ 20 ตำลึง (80 บาท) หากเป็นมาตราชั่งจะเท่ากับน้ำหนัก 1,200 กรัม
17. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระปฏิมากร” หมายถึง พระพุทธรูป
18. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ตำลึง” เป็นมาตราเงินเท่ากับ 4 บาท หากเป็นมาตราชั่งจะเท่ากับ 60 กรัม
19. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “หน้ามุข” หมายถึง ส่วนที่ยื่นออกมาจากอาคาร
20. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ช่อฟ้า” เป็นองค์ประกอบส่วนยอดของอาคารประเภทอุโบสถหรือวิหาร
21. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “หางหงส์” เป็นองค์ประกอบของเครื่องลำยอง (ตัวไม้แกะสลักปิดหัวท้ายเครื่องมุงหลังคา) หรือรวยระกาโดยอยู่ในส่วนล่างสุด
22. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ดาวเพดาน” คือ รูปดอกบัวบนฝ้าเพดานของอุโบสถและวิหาร ซึ่งหากมองขึ้นไปจะเหมือนรูปดวงดาวที่กระจายอยู่บนท้องฟ้า
23. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สลึง” เป็นมาตราเงิน เท่ากับ 25 สตางค์ หากเป็นมาตราชั่งจะเท่ากับเงินหนัก 1 ใน 4 บาท หรือ 3. 75 กรัม
24. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ประสาร บุญประคอง อ่านครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2507 เป็น “ครืย” และให้เป็นคำว่า “คือ”
25. ประสาร บุญประคอง : “สิริ” หมายถึง รวม
26. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “เฟื้อง” มาตราเงิน เท่ากับ 8 อัฐ
27. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “มะโรง” (งูเล็ก) เป็นปีนักษัตรที่ 5 ใน 12 นักษัตร
28. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “อัฐศก” คือปีที่ลงท้ายด้วย 8 เช่น ในที่นี้ คือ 1098
29. ประสาร บุญประคอง : “อันณราย” คือ อันตราย
30. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สนเท่ห์” หมายถึง สงสัย, ไม่แน่ใจ
31. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “บูรณะ” ในอดีตหมายถึงการซ่อมแซมปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ต่างจากความหมายในปัจจุบัน ซึ่งหมายถึง การซ่อมแซมและปรับปรุงให้มีลักษณะกลมกลืนกับของเดิมให้มากที่สุดแต่ต้องแสดงความแตกต่างของสิ่งที่มีอยู่เดิมกับสิ่งที่ทำขึ้นใหม่
32. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ศอก” เป็นมาตราวัด (1 ศอกเท่ากับ 2 คืบ)
33. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “อบาย” หมายถึง ที่ที่ปราศจากความเจริญ, ความฉิบหาย
34. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “อพิจี” คือ อวิจี, อเวจี เป็นนรกขุมหนึ่งใน 8 ขุม ผู้ที่ทำบาปอันเป็นปัญจานันตริยกรรม ได้แก่ การฆ่าบิดา มารดา การทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต ทำร้ายพระภิกษุสงฆ์ผู้มีศีล และยุยงให้พระสงฆ์แตกจากกัน จะต้องไปตกนรกขุมดังกล่าวเป็นเวลาสิ้นกัลป์หนึ่ง ซึ่งระยะเวลาของกัลป์หนึ่งที่ถูกกล่าวไว้ในไตรภูมิพระร่วงคือ ภูเขาสูงได้โยชน์หนึ่ง กว้าง 3 โยชน์ เมื่อถึง 11 ปี จะมีเทพดานำผ้าทิพย์อันอ่อนดังควันไฟมาเช็ดภูเขานั้น เมื่อใดที่ภูเขาราบเรียบจึงถือว่าสิ้นกัลป์หนึ่ง
35. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “มณฑป” คืออาคารรูปสี่เหลี่ยม หลังคายอด
36. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระพุทธบาท” เป็นบริโภคเจดีย์ (เจดีย์ประเภทหนึ่งใน4ประเภท) สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา การบูชาพระพุทธบาทในไทยนั้นมีมาก่อนสมัยอยุธยา ดังเช่น พระพุทธบาทที่พระมหาธรรมราชาลิไท แห่งสุโขทัย ทรงสร้างไว้บนเขานาทอง จังหวัดกำแพงเพชร ส่วนการนมัสการพระพุทธบาทกลางเดือน 3 และกลางเดือน 4 นั้นเกิดขึ้นในสมัยอยุธยา ในรัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2153-2171) ซึ่งมีการพบรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี จึงโปรดให้สร้างมณฑปครอบไว้ และเสด็จไปบูชาพระพุทธบาทนั้น การบูชาพระพุทธบาทได้สืบต่อมาในกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยาและกลายเป็นสิ่งที่ชาวบ้านในแถบภาคกลางปฏิบัติต่อมาจนในปัจจุบัน