จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกวัดเทพจันทร์

จารึก

จารึกวัดเทพจันทร์

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 19:25:36 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดเทพจันทร์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึกอักษรไทย ภาษาไทย สมัยอยุธยา, หลักที่ 91 ศิลาจารึกวัดเทพจันทร์, อย. 3

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 2277

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 20 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวนสีเขียว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 47 ซม. สูง 67.4 ซม. หนา 6.4 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. 3”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2507) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกอักษรไทย ภาษาไทย สมัยอยุธยา”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กำหนดเป็น “หลักที่ 91 ศิลาจารึกวัดเทพจันทร์”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

พระราชวังจันทรเกษม ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำรวจเมื่อ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2507) : 73-75.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 31-36.

ประวัติ

ข้อมูลและคำอ่านจารึกวัดเทพจันทร์ได้รับการพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกใน วารสารศิลปากร ปีที่ 7 เล่ม 5 พ.ศ. 2507 ชื่อบทความ “คำอ่านจารึก อักษรไทย ภาษาไทย สมัยอยุธยา ได้มาจากวังจันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” และตีพิมพ์ครั้งที่ 2 ในประชุมศิลาจารึกภาคที่ 4 ใน พ.ศ. 2513 โดยเรียกว่า “หลักที่ 91 ศิลาจารึกวัดเทพจันทร์” ทั้ง 2 ครั้ง อ่านโดย ประสาร บุญประคอง

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์พระวิหารวัดเทพจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2277 โดยกรมหลวงราชานุรัตน์และมหาเพชญผู้เป็นเจ้าอาวาส ตอนท้ายสาปแช่งผู้ที่จะทำอันตรายแก่พระพุทธรูปและวิหาร โดยขอให้ตกนรกอเวจี อย่าทันพบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และกล่าวถึงผู้บูรณะมณฑปพระพุทธบาทคือ พระสงฆ์ นามว่า เหมือน และสมภารวัดเทพจันทร์ การปฏิสังขรณ์ดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2279

ผู้สร้าง

กรมหลวงราชานุรัตน์, มหาเพชญ, ภิกษุนามว่า เหมือน และสมภารวัดเทพจันทร์

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชท้ายสุดที่ปรากฏในจารึก คือ จุลศักราช 1098 ปีมะโรง อัฐศก ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2079 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2275-2301)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง, “คำอ่านศิลาจารึก อักษรไทย ภาษาไทย สมัยอยุธยา ได้มาจากวังจันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา,” ศิลปากร 7, 5 (มกราคม 2507) : 53-56.
2) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 91 ศิลาจารึกวัดเทพจันทร์,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 31-36.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513)