จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกลานเงินภาษาไทย วัดมหาธาตุ

จารึก

จารึกลานเงินภาษาไทย วัดมหาธาตุ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 เวลา 17:52:59

ชื่อจารึก

จารึกลานเงินภาษาไทย วัดมหาธาตุ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกลานเงินภาษาไทย วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, หลักที่ 41 จารึกลานเงินภาษาไทยวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, อย. 9

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2501, 2508)

ผู้ปริวรรต

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2501, 2508)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “รชตบัตร” หมายถึง แผ่นเงิน
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “คณนา” หมายถึง นับ ในที่นี้ หมายถึง นับได้ …. (เป็นการบอกจำนวนพระพิมพ์ที่สร้างขึ้น)
3. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “พ่อออก แม่ออก” หมายถึง โยมอุปัฏฐาก (ผู้อุปถัมภ์บำรุงภิกษุ สามเณร) ชายและหญิงตามลำดับ
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ธ” เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 หมายถึง ท่าน, เธอ
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ชาวเจ้า” หมายถึง พระสงฆ์
6. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “เหน้า” ในที่นี้ใช้ในความหมายว่า เหล่า
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สถิร” หมายถึง มั่นคง
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พ่อขุน” คือ ขุนศรีรัตนากร ผู้สร้างพระพิมพ์
9. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ภุล” หมายถึง เกิด (ภาษาเขมร) ในศิลาจารึกเขมรที่นครวัดแปลว่า “ประสูติ” เช่น “ภุลพฺระราชบุตฺร” ส่วนในไตรภูมิพระร่วง ใช้คำว่า “พูนเกิด” เช่น “เพื่อเขาพูนเกิดเป็นรูปกายเที่ยว”
10. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ดุสิต” คือ สวรรค์ชั้นที่ 4 ใน 6 ชั้น มีปราสาทและอุทยานที่สวยงาม เป็นที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ที่จะมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้าในโลกมนุษย์รวมถึงพระศรีอารย์
11. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “คัล” หมายถึง เฝ้า (ภาษาเขมร)
12. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระไมตรี” หมายถึง พระเมไตรยะ (พระศรีอารย์) อนาคตพุทธเจ้า ซึ่งจะลงมาตรัสรู้หลังจากพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันปรินิพพานไปแล้ว 5,000 ปี
13. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระศรีสรรเพชญ์” หมายถึง พระพุทธเจ้า ในที่นี้ คือ พระศรีอารย์
14. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “จยุติ” หมายถึง จุติ
15. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สัปตรัตน” แก้วทั้ง 7
16. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ท้าวมันธาตุ” ครองราชสมบัติในมหาทวีปทั้ง 4 มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร รวมถึงครองราชสมบัติในเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า (มันธาตุราชชาดก) ให้แง่คิดในเรื่องของกามตัณหา เนื่องจากพระองค์ต้องพลัดลงมาจากดาวดึงส์ เพราะเหตุแห่งกามวิตก ไม่มีความอิ่มในกามารมณ์
17. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “มโหสถ์ (มโหสถ)” เป็นพระชาติสำคัญ 1 หนึ่งใน 10 ชาติ (ทศชาติ) ของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีความฉลาดหลักแหลมตั้งแต่เยาว์วัย สามารถใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาต่างๆจนเป็นที่เลื่องลือ (มโหสถชาดก) การที่จารึกนี้จารว่า “มโหส”นั้น คงเป็นเพราะต้องการให้สัมผัสกับ “โปรส” (โปรด) ในวรรคถัดไป
18. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “กิ่ง” ใช้ในความหมายว่า “ดุจ”
19. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สุตโสม” เป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า พระองค์เสวยชาติเป็นกษัตริย์นามว่า สุตโสม ถูกยักษ์จับได้แต่ระลึกได้ว่าได้นัดหมายไว้กับพราหมณ์เพื่อฟังธรรม จึงขอไปตามนัดก่อน แล้วจึงกลับไปหายักษ์โดยไม่คำนึงว่าตนจะถูกฆ่าหรือไม่ (สุตโสมชาดก) เรื่องนี้ให้แง่คิดในเรื่องของความมีสัจจะ (สุตโสมชาดก)
20. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “เพสยันดร” หมายถึง พระเวสสันดร เป็นผู้บริจาคทรัพย์ครั้งใหญ่ที่เรียกว่า “สัตตสดกมหาทาน” ได้แก่ ช้าง ม้า รถ หญิง โคนม ทาสหญิง ทาสชายอย่างละ 700 ต่อมาทรงมอบพระชาลีและพระกัณหาซึ่งเป็นโอรส-ธิดาให้แก่ชูชกผู้มาทูลขอ หลังจากนั้นพระอินทร์ได้แปลงร่างเป็นพราหมณ์เฒ่ามาขอพระนางมัทรี พระองค์ก็ทรงให้ ซึ่งทั้งหมดนี้นับว่าเป็นการเสียสละอย่างสูง ถือเป็นการบริจาคทานอันยิ่งใหญ่ เป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า (เวสสันดรชาดก)
21. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ชาติสมร” หมายถึง ระลึกชาติได้( สฺมร เป็นภาษาสันกฤต หมายถึง ระลึก)
22. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สงสาร” หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด
23. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จีพร” หมายถึง จีวร ซึ่งเป็น 1 ในเครื่องอัฐบริขาร(เครื่องใช้ 8 อย่างของพระสงฆ์) ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกน เข็มเย็บผ้า ประคดเอว (ผ้ารัดเอว) และผ้ากรองน้ำ
24. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “อย่าพักกรโกนเกศ” หมายถึง ไม่ต้องรอเอามือโกนผม
25. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “เกลส” หมายถึง กิเลส
26. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ตระบัด” หมายถึง ทันใด
27. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “หัน” หมายถึง เห็น
28. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “เยื่อง” หมายถึง อย่าง
29. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “แด่” หมายถึง เทอญ หรือ ด้วย