จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดส่องคบ 1

จารึก

จารึกวัดส่องคบ 1 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2564 01:38:02

ชื่อจารึก

จารึกวัดส่องคบ 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชน. 13, จารึกเลขที่ 44/2499, จารึกอักษรขอม ภาษาไทย บนลานทอง, หลักที่ 48 จารึกลานทองวัดส่องคบ, จารึกลานทองวัดส่องคบ 1

อักษรที่มีในจารึก

ขอมอยุธยา

ศักราช

พุทธศักราช 1951

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 15 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 9 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 6 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2502)
2) ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (พ.ศ. 2502), จำลองอักษร

ผู้ปริวรรต

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2502)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “นโม พุทฺธาย” แปลว่า ความนอบน้อมจงมีแต่พระพุทธเจ้า อนึ่ง คำว่า “นโม พุทฺธาย” นี้ นักปราชญ์โบราณท่านหมายเอาพระนามพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ คือ น = พระกกุสันโธ โม = พระโกนาคมโน พุทฺ = กระกัสสโป ธา = พระโคตโม ย = พระศรีอาริยเมตไตรย
2. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ทศนัขคุณเทศ = สิบนิ้ว (ไหว้) คุณ (เทพารักษ์ซึ่งคุ้มครอง) ประเทศ
3. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ในแผ่นจารึกใช้ “สพมา รกสฺตร”
4. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ผกาแก้วเกด สพมารกษัตริย์ = ดอกแก้วดอกเกด (ถวาย) พระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้วทุกๆ พระองค์
5. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ทัดดินต่างปิ่นเกล้า” คำนี้คล้ายกับคำสามัญว่า “อาบเหงื่อต่างน้ำ” หมายความว่า พระมหากษัตริย์ทุกๆ พระองค์นั้น ทรงได้รับความลำบากตรากตรำมามาก
6. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “เป็นทองมกุฎ สุดใจดินใจฟ้า” หมายความว่า พระคุณดังกล่าว เปรียบเหมือนเป็นมกุฎทอง อันนับว่าดีเลิศประเสริฐสุดชั่วฟ้าดินสลายเทียว
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : คำว่า “พรรณราย” ในที่นี้ใช้ในความว่า “พรรณนา”
8. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เป็น = เกิด หรือมี
9. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : โลกากร = บ่อเกิดแห่งโลก
10. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จน = ขัดสน หรือ ไร้ทรัพย์
11. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : งอน = งาม หรือ ความดี, ความงาม
12. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : สถิต = ตั้งอยู่ หรือ ยืนยงคงอยู่
13. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เท้า = ท่าน
14. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ธ = ท่าน
15. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ปีชวดนักษัตรสัมฤทธิศก = จ.ศ. 770 (พ.ศ. 1951)
16. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เอกาทศเกต = ขึ้น 11 ค่ำ (“เอกาทศ” สันสกฤตแปลว่า 11, “เกต” หรือ “เกิด” ขอมแปลว่า ปักษ์ข้างขึ้น)
17. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : คำว่า “พระสงฆ์สี่ตนตกเสิก ธ ขอแต่เสิกกะทบลอยคืนมา” น่าจะหมายความว่า พระสงฆ์ 4 รูป ซึ่งตกอยู่ในเงื้อมมือของข้าศึก ท่านก็พยายามขอจากข้าศึกกลับคืนมาได้
18. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : พัสตร์ = ผ้า
19. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : คำว่า “ภาวนา” ในที่นี้ใช้ในความว่า “คณนา”