จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 2 (วัดกู่กุด)

จารึก

จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 2 (วัดกู่กุด) ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2564 22:29:58

ชื่อจารึก

จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 2 (วัดกู่กุด)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ. 2, inscription de Văt Kŭkŭt, Vat Kukut (I), ศิลาจารึกมอญวัดกู่กุด หรือ วัดจามเทวี, จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ (วัดกู่กุด) (ลพ./2, พช. 21, 354), จารึกวัดกู่กุฏหรือจามเทวี หลักที่ 1,

อักษรที่มีในจารึก

มอญโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 17

ภาษา

บาลี, มอญโบราณ

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 38 บรรทัด แต่ละด้านมี 19 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) โรเบิร์ต ฮัลลิเดย์ และชาร์ลส์ อ๊อตโต บล็ากเด็น (พ.ศ. 2473)
2) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2522), (พ.ศ. 2533)

ผู้แปล

1) โรเบิร์ต ฮัลลิเดย์ และชาร์ลส์ อ๊อตโต บล็ากเด็น (พ.ศ. 2473)
2) จำปา เยื้องเจริญ (พ.ศ. 2522), (พ.ศ. 2533)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529), (พ.ศ. 2533)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ศ. โรเบิร์ต ฮัลลิเดย์ และ ศ. ชาร์ลส์ อ๊อตโต บล็ากเด็น : “เจดีย์องค์นี้” หมายถึง รัตนเจดีย์
2. ศ. โรเบิร์ต ฮัลลิเดย์ และ ศ. ชาร์ลส์ อ๊อตโต บล็ากเด็น : “รัชกาลที่แผ่ไปทั้งสิบทิศ” หมายถึง ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์?
3. ศ. โรเบิร์ต ฮัลลิเดย์ และ ศ. ชาร์ลส์ อ๊อตโต บล็ากเด็น : “ไจตระ” หมายถึง เดือนห้า
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : การตีพิมพ์คำจารึกของจารึกหลักนี้ ในหนังสือวิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (พ.ศ. 2533) ในกรณีของพยัญชนะควบนั้น บางครั้งมีการจุดใต้พยัญชนะที่เป็นพยัญชนะต้น แต่บางครั้งไม่มี จึงได้พิจารณาจากสำเนาจารึกแล้วใส่จุดใต้พยัญชนะเหล่านั้นเพื่อให้เป็นระบบเดียวกัน
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : หลักการถ่ายถอดตัวอักษรในจารึกภาษามอญเป็นอักษรไทยของกองหอสมุดแห่งชาติ กับการถ่ายถอดจากอักษรโรมันเป็นอักษรไทยของศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล มีความแตกต่างกันเล็กน้อย คือ อักษรที่มีเครื่องหมาย วิราม กำกับ (ซึ่งแสดงถึงการเป็นตัวสะกด) นั้น กองหอสมุดแห่งชาติใช้เครื่องหมายการันต์ในการถ่ายถอด ส่วน ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงใช้การจุดใต้พยัญชนะ แต่หากเป็น สระลอย a ที่มีวิรามกำกับ จะใช้เครื่องหมายลูกน้ำเช่นเดียวกับที่ใช้ในอักษรโรมัน เช่น คำว่า duk กองหอสมุดแห่งชาติถอดเป็น “ทุก์” ส่วน ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงถอดเป็น “ทุกฺ” หรือ คำว่า vo’ กองหอสมุดแห่งชาติถอดเป็น “โวอ์” ส่วน ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงถอดเป็น โว’
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : อาจมีความผิดพลาดในการพิมพ์ เนื่องจากในภาษาบาลีไม่มีสระ “เ-า” จึงอาจเป็น “เต” และตามด้วยพยัญชนะตัวใดตัวหนึ่ง
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เมื่อพิจารณาคำว่า “กาล” จากสำเนาจารึกหลักนี้แล้วพบว่ามีการใช้วิรามทุกครั้ง คำจารึกจึงน่าจะเป็น “กาล์”
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เมื่อพิจารณาจากสำเนาจารึกแล้วพบว่ามีการใช้วิราม คำจารึกจึงควรเป็น “วาร์”
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เมื่อพิจารณาจากสำเนาจารึกแล้วพบว่าตัวสะกดของคำนี้เป็นอักษร “ร” ไม่ใช่ “ล” ดังนั้นจึงควรเป็น “ปฺรการ์” (อาจผิดพลาดจากขั้นตอนการพิมพ์)
10. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : เมื่อพิจารณาจากสำเนาจารึกแล้วพบว่าอาจเป็นสระ ี ทั้ง 2 ตัว คือ ลีญ์, ยีง์
11. จำปา เยื้องเจริญ : “ผาติกรรม” หมายถึง การชดใช้ การตอบแทน การแลกเปลี่ยน
12. จำปา เยื้องเจริญ : น่าจะเป็น “สามพันหนึ่งร้อยสามสิบสอง” (3,132)