จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกพระยาศรียศราช วัดหงส์รัตนารามฯ

จารึก

จารึกพระยาศรียศราช วัดหงส์รัตนารามฯ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2564 17:19:14

ชื่อจารึก

จารึกพระยาศรียศราช วัดหงส์รัตนารามฯ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 293 จารึกพระยาศรียศราช วัดหงส์รัตนารามฯ, จารึกบนฐานพระพุทธรูปทองในพระวิหารวัดหงส์รัตนารามธนบุรี

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1966

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 3 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2501)
2) ประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2534)
3) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2534)

ผู้ปริวรรต

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2501)
2) ประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2534)
3) วินัย พงศ์ศรีเพียร (พ.ศ. 2534)

ผู้ตรวจ

1) ประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ.2534)
2) คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. เทิม มีเต็ม : “พุทธศักราช 1967 ปีเถาะ” ศักราชนี้ถือตามการนับแบบลังกา ถ้านับแบบไทยปัจจุบันจะตรงกับปี พ.ศ. 1966
2. เทิม มีเต็ม : “ออก 7 ค่ำ” ขึ้น 7 ค่ำ
3. เทิม มีเต็ม : “เสด็จทา” คำว่า ทา ในที่นี้น่าจะตรงกับ ไท/ไท้ ในจารึกวัดแวง (หลักที่ 304) ปรากฏว่าใช้คำว่า ทา 3 ครั้งด้วยกัน ดังนั้นเสด็จทา จึงน่าจะหมายถึง เสด็จไท้ และแปลว่า “ท่านผู้ใหญ่” อย่างที่ใช้ในวรรณคดี
4. เทิม มีเต็ม : “อวย” ให้
5. เทิม มีเต็ม : “กัด” ตัดแบ่ง
6. เทิม มีเต็ม : “เป็นฉัน” ตรงกับ เป็นจังหัน หมายถึง เป็นค่าภัตตาหาร
7. เทิม มีเต็ม : “พระเจ้าองค์นี้” พระพุทธรูปองค์นี้
8. เทิม มีเต็ม : “ต้น” ต้นสวน หรือ จุดต้นของสวน
9. เทิม มีเต็ม : “ค้ำ” ยัน จด หรือ ติด
10. เทิม มีเต็ม : “ปลาย” ปลาย หรือ ท้ายสวน
11. เทิม มีเต็ม : “ดอกหวาย” เป็นชื่อเรียกสถานที่
12. เทิม มีเต็ม : “บ่ต่อสิ้นพงศ์แห่งมัน” นำนี้ ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร เห็นว่าหมายถึง “ไม่เพียงแค่สิ้นวงศ์ตระกูลของมัน” แต่ นายวินัย พงศ์ศรีเพียร เห็นว่า บ่ต่อ หมายถึง “มิได้กระทำต่อไป” หรือ “มิได้บำเรอต่อไป” [เพราะ] “สิ้นพงศ์แห่งมัน”, “สิ้นวงศ์ตระกูลของพวกมัน”