จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดบูรพาราม

จารึก

จารึกวัดบูรพาราม ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 เวลา 14:36:02

ชื่อจารึก

จารึกวัดบูรพาราม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สท. 59, หลักที่ 286 จารึกวัดบูรพาราม

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 115 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 59 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 56 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2532)

ผู้ปริวรรต

ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี และวินัย พงศ์ศรีเพียร (พ.ศ. 2534)

ผู้ตรวจ

1) ประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2534)
2) คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. เทิม มีเต็ม : ประมาณ = กำหนดได้
2. เทิม มีเต็ม : ศักราช 730 ตรงกับ จุลศักราช 730 หรือ พุทธศักราช 1911 (ตามเกณฑ์ปัจจุบัน)
3. เทิม มีเต็ม : ทัศ = ครบ, บริบูรณ์, พอดี
4. เทิม มีเต็ม : อาษาฒมาส เป็นชื่อเดือนทางจันทรคติในลำดับที่ 8
5. เทิม มีเต็ม : พระกันโลง (เขมร) = พระราชมารดา บางครั้งเขียนว่า “กรรโลง”
6. เทิม มีเต็ม : เข้า / ข้าว = ปี
7. เทิม มีเต็ม : ต่อ (เขมร) ในที่นี้ แปลว่า เจริญ
8. เทิม มีเต็ม : กลาศาสตร์ เป็นชื่อคัมภีร์สันสกฤต ของนักปราชญ์วิศาขิละ อย่างไรก็ตาม คำว่า กลา แปลว่า ศิลปะทั้ง 64 แขนง ดังนั้น กลาศาสตร์ จึงหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยศิลปะทั้งหลาย
9. เทิม มีเต็ม : มูรฒรณรงค์ มาจาก มูรฺธ (สันส.) = เป็นยอด + รณรงฺค (สันส.) = สนามรบ, ยุทธภูมิ ดังนั้นคำนี้จึงหมายถึง ความรู้ในเรื่องการรบเป็นยอด หรือตรงกับคำว่า พิชัยสงคราม ที่ใช้ในสมัยหลัง
10. เทิม มีเต็ม : กลอย = ถัดนั้น, ต่อจากนั้น
11. เทิม มีเต็ม : ปก = แว่นแคว้น หรือ รัฐ
12. เทิม มีเต็ม : เลือง = ชาวเลือง
13. เทิม มีเต็ม : เนืองทั้ง ในที่นี้หมายถึง อีกทั้ง, รวมทั้ง
14. เทิม มีเต็ม : เขม คงหมายถึง ชาวเขม
15. เทิม มีเต็ม : ศักราชเจ็ดร้อยห้าสิบแปด = จุลศักราช 758 ตรงกับ พุทธศักราช 1939
16. เทิม มีเต็ม : กลาย = กลับไป, กลับออกไป
17. เทิม มีเต็ม : ปราบต์ (สันส. ปฺราปฺต) = ถึงแล้ว, ได้แล้ว
18. เทิม มีเต็ม : ปกกาว = แว่นแคว้น / รัฐชาวกาว คือ รัฐน่าน
19. เทิม มีเต็ม : ชาว น่าจะเป็น ซ่าว หรือ เซ่า ซึ่งเป็นชื่อหนึ่งของหลวงพระบาง ในขณะเดียวกัน ชาว อาจมาจาก ชวา ก็ได้ แต่เขียนให้ลงเสียงสัมผัสร่าย
20. เทิม มีเต็ม : ด้านหนตีน = ด้านทิศเหนือ
21. เทิม มีเต็ม : เถิงฝั่งของ = ถึงฝั่งแม่น้ำโขง
22. เทิม มีเต็ม : คุง = ตลอด, ไปถึง
23. เทิม มีเต็ม : รอด = ถึง, ไปถึง
24. เทิม มีเต็ม : พัล = เมืองพัน ที่ห่างไปราว 50 กิโลเมตร ทางเหนือของเมาะตะมะ
25. เทิม มีเต็ม : เบื้องข้าง ความหมายตรงกับ แจ่ง ในภาษาเหนือ แปลว่า เฉียง
26. เทิม มีเต็ม : สาย (เขมร) = แพร่ไปถึง, กระจายออกไป, จด
27. เทิม มีเต็ม : ศักราชเจ็ดร้อยเจ็ดสิบ = จุลศักราช 770 ตรงกับ พุทธศักราช 1951
28. เทิม มีเต็ม : ศักราชเจ็ดร้อยเจ็ดสิบสี่ = จุลศักราช 774 ตรงกับ พุทธศักราช 1955
29. เทิม มีเต็ม : ออกใหม่ห้าค่ำ = ขึ้น 5 ค่ำ
30. เทิม มีเต็ม : ดำกลใจมั่น = ตั้งใจมั่น
31. เทิม มีเต็ม : ขึ้นเป็นพระยา = ขึ้นเสวยราชย์
32. เทิม มีเต็ม : โสด = หนึ่ง, เดียว, อีกประการหนึ่ง
33. เทิม มีเต็ม : พระมหาธาตุเจ้า = ในภาคบาลีด้านที่ 2 ระบุว่ามี 3 องค์
34. เทิม มีเต็ม : พาย = สร้าง, กระทำ
35. เทิม มีเต็ม : ในจารึกหลักที่ 93 (จารึกวัดอโสการาม) เขียนว่า องค์หนึ่งรามเท่าเมล็ดข้าวสารหักคริ่ง
36. เทิม มีเต็ม : ในจารึกหลักที่ 93 (จารึกวัดอโสการาม) เขียนว่า พรรณดั่งแก้วผลึกรัตน
37. เทิม มีเต็ม : ศักราชร้อยเจ็ดสิบห้า ตรงกับ จุลศักราช 775 หรือ พุทธศักราช 1956
38. เทิม มีเต็ม : ห้าสิบกว น่าจะเป็น ห้าสิบเกวียน
39. เทิม มีเต็ม : พระ หมายถึง พระพุทธรูป
40. เทิม มีเต็ม : จารึกหลักที่ 93 (จารึกวัดอโสการาม) บรรทัด 32 ด้านที่ 1 ว่า “พ่ออยู่หัวเสด็จเสวยพระผนวชบวช”
41. เทิม มีเต็ม : ท่งไชย = ทุ่งชัย
42. เทิม มีเต็ม : สิน = ทรัพย์สิน
43. เทิม มีเต็ม : กระยาการ = เครื่องของถวาย
44. เทิม มีเต็ม : พันล้าน = มูลค่าล้านเบี้ย
45. เทิม มีเต็ม : แส้งแกล้ง = ตั้งใจ, มีเจตนา
46. เทิม มีเต็ม : โกฏฐาส = ส่วน
47. เทิม มีเต็ม : คำที่ลบเลือนนี้น่าจะเป็น ภษฎราธิบดี แปลว่า พระสวามีผู้เป็นใหญ่
48. เทิม มีเต็ม : มาตราหนึ่ง = อีกประการหนึ่ง