จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดบางสนุก

จารึก

จารึกวัดบางสนุก ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 เวลา 14:00:33

ชื่อจารึก

จารึกวัดบางสนุก

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พร. 1, ศิลาจารึก อักษรไทย ภาษาบาลีและภาษาไทย วัดบางสนุก อ. กิ่งวังชิ้น จ. แพร่, หลักที่ 107 ศิลาจารึก วัดบางสนุก, ศิลาจารึกวัดบางสนุก, พร. 1 จารึกวัดบางสนุก (ปีกัดเหม้าสันนิษฐานว่า พ.ศ. 1882)

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1882 (โดยประมาณ)

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 29 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2509)

ผู้ปริวรรต

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2509)

ผู้ตรวจ

1) ประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2509)
2) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2513)
3) กรมศิลปากร (พ.ศ. 2526)
4) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ประสาร บุญประคอง : “ยอ” คือ ยก
2. ประสาร บุญประคอง : “เถิง” คือ ถึง
3. ประสาร บุญประคอง : “แซงุน” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 ว่า แชงุน
4. ประสาร บุญประคอง : “เหียก” คือ ดีบุก
5. ประสาร บุญประคอง : “จ้อง” คือ ร่ม
6. ประสาร บุญประคอง : “ค่อมตน” คือ สำรวมตน ใน จารึกล้าน ภาค 1 เล่ม 1 ว่า ค้อมตน
7. ประสาร บุญประคอง : “เวนให้” คือ มอบให้ หรือ ถวายให้
8. ประสาร บุญประคอง : “วันเมิงเป้า” เป็นชื่อวันของไทยชนิดหนึ่ง
9. ประสาร บุญประคอง : “เดือน 7” คือ เดือน 7 ของไทยฝ่ายเหนือ ตรงกับเดือน 5 ของไทยฝ่ายใต้
10. ประสาร บุญประคอง : “ออก” คือ ข้างขึ้น
11. ประสาร บุญประคอง : “สิบห้าค่ำ” คำจารึกอ่านครั้งแรกอ่านเป็น “สิ (บหา) คำ” แต่ในจารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 อ่าน “สิ . . (ฅ)ำ”
12. ประสาร บุญประคอง : “ปีกัดเหม้า” คือ ปีเถาะ ฉศก ของไทยฝ่ายเหนือ ตรงกับปีเถาะเอกศกของไทยฝ่ายใต้
13. ประสาร บุญประคอง : “โถะ” คือ เถาะ
14. ประสาร บุญประคอง : “สืบ” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 ว่า สิบ
15. ประสาร บุญประคอง : “สทายปูน” คือ ถือปูน หรือ ผสมปูน