จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดพระยืน

จารึก

จารึกวัดพระยืน ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2564 13:38:21

ชื่อจารึก

จารึกวัดพระยืน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึกวัดพระยืน, หลักที่ 62 ศิลาจารึกวัดพระยืน จังหวัดลำพูน, ศิลาจารึกวัดพระยืน พ.ศ. 1913, ลพ. 38

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1913

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 81 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 40 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 41 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2508), (พ.ศ. 2526)

ผู้ปริวรรต

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2508), (พ.ศ. 2526)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) กรมศิลปากร (พ.ศ. 2526)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ชนมาพิธี = อายุ, อายุขัย, กำหนดอายุ
2. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ดังอั้น = ดังนั้น
3. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : คาบ = ครั้ง
4. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : พอย = พลอย, เลย
5. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : สานต์ = สงบ
6. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ทานอด = อดทน
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เดือนเจียง = คือเดือนอ้ายของไทยฝ่ายเหนือ แต่ตรงกับเดือน 11 ของไทยฝ่ายใต้ เรื่องนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายไว้ในสมุดสำหรับสอบศักราชว่า “เดือนตามลัทธิ ไทยฝ่ายเหนือใช้ตรงกับลัทธิจีน เร็วกว่าเดือนจันทรคติตามลัทธิไทยฝ่ายใต้อยู่ 2 เดือน เป็นต้นว่าเดือน 8 เหนือ ต้องเข้าใจว่าเดือน 6 ตามจันทรคติอย่างข้างใต้” และในศิลาจารึกวัดพระสิงห์ จ. เชียงใหม่ จ.ศ. 1173 (พ.ศ. 2354) ว่า “ผลคุณมาส” (เดือน 4) ศุกลปักษ์ปุรณมี ก็ได้ไทยภาษาว่าเดือน 6 เพราะฉะนั้น คำว่า “เดือนเจียง” ในที่นี้จึงตรงกับเดือน 11 ตามจันทรคติอย่างไทยฝ่ายใต้
8. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เถิง = ถึง
9. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : บริพาร = แวดล้อม
10. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ยายกัน = เรียงรายกัน
11. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ปี่สรไน = ปี่ไฉน
12. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : พิสเนญชัย = คำว่า “พิสเนญ” น่าจะเป็น ปี่เสนง หรือ เขนง ซึ่งขอมเรียกว่า แสฺนง ได้แก่เขาวัวควายที่ใช้เป่า, ชัย เป็นคำประกอบ
13. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ทะเทียด หรือ สรเทียด = ตรงกับคำบาลีว่า “ทินฺทิม” แปลว่า กลองสองหน้า ใช้ตีด้วยไม้ข้างหนึ่ง และมือข้างหนึ่ง
14. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : กาหล = แตรงอน
15. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : มาน = มี
16. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : กังสดาล = ระฆังวงเดือน
17. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : มรทงค์ = ตะโพน (สันส. – มฤทงค, บาลี – มุทิงค)
18. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ดงเดือด = สนั่นดง หรือเครื่องดนตรีอย่างหนึ่ง
19. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : โอยทาน = ให้ทาน
20. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : รำเพิง = รำพึง