จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดศรีชุม

จารึก

จารึกวัดศรีชุม ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 เวลา 10:29:56

ชื่อจารึก

จารึกวัดศรีชุม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม, ศิลาจารึกวัดศรีชุม ประมาณพุทธศักราช 1884-1910, ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 2 (วัดศรีชุม), สท. 2

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 19-20

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 212 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 107 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 95 บรรทัด

ผู้อ่าน

ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2521), (พ.ศ. 2526), (พ.ศ. 2527)

ผู้ปริวรรต

ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2521), (พ.ศ. 2526), (พ.ศ. 2527)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2521)
2) กรมศิลปากร (พ.ศ. 2526)
3) กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2527)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ยอร์ช เซเดส์ : จุดที่เว้นไว้ คือจารึกที่ยังอ่านไม่ได้ เพราะอักษรลบเลือนมาก
2. ยอร์ช เซเดส์ : “สมเด็จพระมหามุนีศรีมหาทันตธาตุ” = ฟันของพระพุทธเจ้า
3. ยอร์ช เซเดส์ : “ลงกาทีป” = เกาะลังกา
4. ยอร์ช เซเดส์ : “มาวลิกคงคา” = ลำน้ำในประเทศศรีลังกา ปัจจุบันชื่อว่ามหาเวลีคงคา ไหลผ่านเมืองแคนดี
5. ยอร์ช เซเดส์ : “เมืองกำพไล” = เมืองหลวงลังกา คือ เมืองกัมพไล พ.ศ. 1884 ไม่มีหลักฐานว่าพระเขี้ยวแก้วไปอยู่เมืองนี้เมื่อไรแต่ต้องหลังจากตั้งเมืองหลวงแล้ว คือไม่ก่อน พ.ศ. 1884 (นายสันต์ จิตรภาษา ให้คำอธิบายว่าเป็นชื่อเมืองหลวงลังกาโบราณ ปัจจุบันเรียก กัมโปลา)
6. ยอร์ช เซเดส์ : “เถิง” = ถึง
7. ยอร์ช เซเดส์ : “นครสรลวงสองแคว” = ต่อมาเรียกว่า สระหลวงสองแคว ได้แก่จังหวัดพิษณุโลก
8. ยอร์ช เซเดส์ : “ศรีเสชนาไล” = ศรีสัชนาลัย
9. ยอร์ช เซเดส์ : ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร อ่านว่า
10. ยอร์ช เซเดส์ : “เบื้องหัวนอน” = ทิศใต้
11. ยอร์ช เซเดส์ : “ฉอด” = เมืองที่ตั้งอยู่ริมน้ำแม่สอด (แม่น้ำเมย?) บริเวณอำเภอแม่สอด
12. ยอร์ช เซเดส์ : “เวียงเหล็ก” = ชัยภูมิที่ตั้งเมืองเล็กก่อนตั้งเมืองใหญ่
13. ยอร์ช เซเดส์ : “ละพูน” = ลำพูน
14. ยอร์ช เซเดส์ : “เบื้องตีนนอน” = ทิศเหนือ
15. ยอร์ช เซเดส์ : “ดาย” = เป็นคำลงท้ายของข้อความ แบบเดียวกับแล นา ฯลฯ
16. ยอร์ช เซเดส์ : “ต่อหัวช้าง” = ชนช้าง
17. ยอร์ช เซเดส์ : “เวน” = มอบให้
18. ยอร์ช เซเดส์ : “เข้า” = เข้าของ
19. ยอร์ช เซเดส์ : “รอม” = รวม
20. ยอร์ช เซเดส์ : “เมืองออก” = เมืองขึ้น
21. ยอร์ช เซเดส์ : “แก่กม” = ที่สุด
22. ยอร์ช เซเดส์ : “สิริ” = รวม
23. ยอร์ช เซเดส์ : “ผดาจ” = แยกกัน
24. ยอร์ช เซเดส์ : “ตบกัน” = พบกัน, รวมกัน
25. ยอร์ช เซเดส์ : “เมือ” = ไป, กลับไป
26. ยอร์ช เซเดส์ : “สบ” = ประสบ, พบปะกัน, พบ
27. ยอร์ช เซเดส์ : “ขอมสบาด” = เขมรดง
28. ยอร์ช เซเดส์ : “โขลญลำพง” = คำสำหรับเรียกคนทำงานประจำเทวสถานหรือวัดวาอาราม
29. ยอร์ช เซเดส์ : “ผชุม” = ประชุม
30. ยอร์ช เซเดส์ : “สราย” = พล, ไพร่พล เช่น ช้างสราย ช้างธรรมดา (นายสันต์ จิตรภาษา ให้ความหมายว่า คึก, ดุร้าย)
31. ยอร์ช เซเดส์ : “บรคน” = รวมกัน
32. ยอร์ช เซเดส์ : “พายพง” = น่าจะตรงกับ พ่ายพัง คือ แตกหนี
33. ยอร์ช เซเดส์ : “มิสู้เข้า” = ไม่ยอมเข้า, ไม่ยินดีเข้า
34. ยอร์ช เซเดส์ : “กมรแดงอัญ” = เป็นคำนำหน้าพระนามพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูง หรือพระมหาเถร
35. ยอร์ช เซเดส์ : “ผีฟ้า” = กษัตริย์
36. ยอร์ช เซเดส์ : “ศรีโสธรปุระ” = กรุงศรียโสธรปุระ เป็นเมืองหลวงโบราณของประเทศกัมพูชา
37. ยอร์ช เซเดส์ : “ขรรค์ชัยศรี” = พระแสงอาญาสิทธิ์
38. ยอร์ช เซเดส์ : “เหียม” = เพราะ, เหตุ
39. ยอร์ช เซเดส์ : “เพื่อ” = เพราะ
40. ยอร์ช เซเดส์ : “เตร่ลาคลา” = เที่ยวไป
41. ยอร์ช เซเดส์ : “ทุกแห่งทุกพาย” = ทุกแห่งทุกหน
42. ยอร์ช เซเดส์ : “พลุ” = เกิด
43. ยอร์ช เซเดส์ : “ปรีชญา” = ปรีชา, ความรู้, ปัญญา
44. ยอร์ช เซเดส์ : “บ่มิกล่าวถี่เลย” = ไม่สามารถจะกล่าวได้ถี่ถ้วน
45. ยอร์ช เซเดส์ : “อาจารพรนธิบาล” = ครูบาอาจารย์
46. ยอร์ช เซเดส์ : “บูรา” = เมือง
47. ยอร์ช เซเดส์ : “พายลูนปูนหลัง” = ภายหลัง
48. ยอร์ช เซเดส์ : “สรรลิกคุณ” = คุณอันเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส (นายสันต์ จิตรภาษา ให้คำอธิบายว่า น่าจะมาจากสรรเลขคุณ มีความหมายว่าคุณเครื่องขัดเกลากิเลส)
49. ยอร์ช เซเดส์ : “หลวก” = ฉลาดเฉลียว, หลักแหลม
50. ยอร์ช เซเดส์ : “โอย” = ให้
51. ยอร์ช เซเดส์ : “บ่คิดแค้น” = ไม่ติดขัด, ไม่ยาก
52. ยอร์ช เซเดส์ : “แต่งแง่” = แต่งตัว
53. ยอร์ช เซเดส์ : “คาบ” = ครั้ง
54. ยอร์ช เซเดส์ : “ดังอั้น” = ดังนั้น
55. ยอร์ช เซเดส์ : “ใบพง” = ใบไม้
56. ยอร์ช เซเดส์ : “มีวัตรปริบัติ” = มีวัตรปฏิบัติ
57. ยอร์ช เซเดส์ : “เยื่อง” = เยี่ยง, อย่าง
58. ยอร์ช เซเดส์ : “ถเมิรเทศ” = ผู้เดินทางไปยังที่ต่างๆโดยไม่มีจุดหมาย, ผู้เดินธุดงค์
59. ยอร์ช เซเดส์ : “เทียร” = ย่อม
60. ยอร์ช เซเดส์ : “เลิกศาสนา” = เชิดชูศาสนา, ยกย่องศาสนา
61. ยอร์ช เซเดส์ : “เคียด” = โกรธ
62. ยอร์ช เซเดส์ : “ขสานติ” = ขันติ, อดทน
63. ยอร์ช เซเดส์ : “อินดู” = เอ็นดู, สงสาร
64. ยอร์ช เซเดส์ : “โปรสสราย” = ปลดปล่อย
65. ยอร์ช เซเดส์ : “อูบาทยาย” = อุปัชฌาย์
66. ยอร์ช เซเดส์ : “แม้นซื่อ” = แม้ว่า
67. ยอร์ช เซเดส์ : “จิงว่า” = ดังว่า
68. ยอร์ช เซเดส์ : “จุ่ง” = จง
69. ยอร์ช เซเดส์ : “กุดานครกำพงครอง” = ชื่อเมือง (ยังไม่ทราบสถานที่)
70. ยอร์ช เซเดส์ : “ภิด” = น่ากลัว, น่าเกรงขาม
71. ยอร์ช เซเดส์ : “ชำเชิง” = ชุ่มตีน
72. ยอร์ช เซเดส์ : “นำลาง” = นำทาง
73. ยอร์ช เซเดส์ : “ปักปืน” = ปักลูกธนู (นายทองสืบ ศุภะมาร์ค และนายสันต์ จิตรภาษา ให้ความหมายว่า ยิงธนู)
74. ยอร์ช เซเดส์ : “คนหนดิน” = คนที่ดิน หมายถึงคนเดินเท้า (นายทองสืบ ศุภะมาร์ค และนายสันต์ จิตรภาษา ให้ความหมายว่า คนเดินดิน หมายถึง พลเดินเท้า)
75. ยอร์ช เซเดส์ : “ช่อย” = ช่วย
76. ยอร์ช เซเดส์ : “ยักเพลียก” = เดินกะโผลกกะเผลก
77. ยอร์ช เซเดส์ : “บ่หย่า” = ไม่หยุด, ไม่เลิก
78. ยอร์ช เซเดส์ : “ค้าน” = แพ้
79. ยอร์ช เซเดส์ : “ตก” = ถึง
80. ยอร์ช เซเดส์ : “เงือด” = งด, ชะงัก, หยุด
81. ยอร์ช เซเดส์ : “ชังอาส” = ไม่พึงปรารถนา
82. ยอร์ช เซเดส์ : “เมือเป็น” = ไปเป็น
83. ยอร์ช เซเดส์ : “ปลาย” = กว่า
84. ยอร์ช เซเดส์ : “ครา” = ครั้ง
85. ยอร์ช เซเดส์ : “จำบัง” = ศึก
86. ยอร์ช เซเดส์ : “สน่อย” = สักหน่อย, เล็กน้อย
87. ยอร์ช เซเดส์ : “บัด” = ประเดี๋ยว
88. ยอร์ช เซเดส์ : “เข็ญใจ” = ลำบากใจ
89. ยอร์ช เซเดส์ : “อนิตย” = อนิจจัง (นายทองสืบ ศุภะมาร์ค ให้คำอธิบายว่า คำว่า อนิตย์ และ อนาถ ควรจะรวมเป็นศัพท์เดียวกันว่า อนิตยอนาถ ภาษาเขมรใช้ อเน็จอนาถ แปลว่เศร้าโศกเสียใจอย่างสุดซึ้ง, น่าสลดใจอย่างยิ่ง)
90. ยอร์ช เซเดส์ : “อนาถ” = อนัตตา
91. ยอร์ช เซเดส์ : “มล้าง” = ล้าง, ฆ่า, ผลาญ, ทำลาย
92. ยอร์ช เซเดส์ : “สวาะ” = สละ, ปล่อย
93. ยอร์ช เซเดส์ : “พันละ” = ภาระ
94. ยอร์ช เซเดส์ : “เลื่อม” = เป็นเงา
95. ยอร์ช เซเดส์ : “กระยาทาน” = สิ่งของถวาย, ภัตตาหาร
96. ยอร์ช เซเดส์ : “พระนลาตธาตุ” = กระดูกหน้าผาก
97. ยอร์ช เซเดส์ : “พระคีวาธาตุ” = กระดูกคอ
98. ยอร์ช เซเดส์ : “พระทักขินอักขกธาตุ” = พระรากขวัญเบื้องขวา
99. ยอร์ช เซเดส์ : “พระทันตธาตุ” = พระทนต์
100. ยอร์ช เซเดส์ : “พระธาตุ” = พระธาตุส่วนอื่นๆ