จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกศรีชยสิงหวรมัน

จารึก

จารึกศรีชยสิงหวรมัน ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2564 เวลา 18:56:03

ชื่อจารึก

จารึกศรีชยสิงหวรมัน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกศรีชยสิงหวรมัน, มป. 9, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 99/43/2560

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ, ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 14

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด

ผู้อ่าน

จตุพร ศิริสัมพันธ์ (พ.ศ. 2532)

ผู้แปล

1) ชะเอม แก้วคล้าย, แปลภาษาสันสกฤต (พ.ศ. 2532)
2) บุญเลิศ เสนานนท์, แปลภาษาเขมร (พ.ศ. 2533)

เชิงอรรถอธิบาย

1. จตุพร ศิริสัมพันธ์ : บรรทัดที่ 1 รุปอักษรเหมือนอักษรที่มีในจารึกวัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 1585 และจารึกปราสาทหินพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 1625 ฉะนั้น จึงจัดว่า คำจารึกบรรทัดแรกนี้จัดทำขึ้นภายหลัง ไม่มีความสัมพันธ์กับข้อความอื่นๆ ของจารึกพระเจ้าศรีชยสิงหวรมันแต่ประการใด
2. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ศฺรเสฏฺโฐยะติ” ภายใต้อักษร “ย” มีเครื่องหมายกากบาท ซึ่งเป็นคำที่บ่งบอกว่าเป็นคำที่ผิด คือควรจะเป็น “ศฺรเสฏฺโฐยะติ” แยกเป็น “ศฺรเศฏฺฐ” + “อยติ” แต่ในจารึกมีวิศรคะ (-ะ) ที่อักษร “ย” หรือ ถ้าเป็นรูปที่ถูกต้องควรเป็น “อายติ” ซึ่งเป็นกริยา แปลว่า “มา” ฉะนั้นในจารึกจึงใส่เครื่องหมายกากบาทไว้
3. จตุพร ศิริสัมพันธ์ : ตั้งแต่บรรทัดที่สองเป็นต้นไป รูปอักษรจะเหมือนกันทุกประการกับจารึกแผ่นทองแดงอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เช่นอักษร “ก” “ณ” “น” “ล” เป็นต้น ฉะนั้นจึงได้จัดจารึกไว้ในยุคเดียวกัน
4. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “เปารโกฺษณีนฺทฺรยาจกาทีนามฺ” แยกศัพท์เป็น “เปารโกฺษณีนฺทฺร” แปลว่า ชนชั้นเจ้านายในเมือง “ยาจก” แปลว่า คนยากจน, คนขอทาน “อาทิ” แปลว่า เป็นต้น เป็นรูปษัษฐีวิภักติ จึงเป็น “ทีนามฺ”
5. บุญเลิศ เสนานนท์ : “เนา” หมายถึง ซึ่ง, อยู่, และ
6. บุญเลิศ เสนานนท์ : “เค” หมายถึง เขา, คน
7. บุญเลิศ เสนานนท์ : “ต” หมายถึง แต่, เพื่อ, ต่อ
8. บุญเลิศ เสนานนท์ : “ทงฺ” หมายถึง ทั้ง
9. บุญเลิศ เสนานนท์ : “เม” หมายถึง แม่
10. บุญเลิศ เสนานนท์ : “อเย” น่าจะมาจากคำว่า อยฺเย, อยฺยก, อยฺยิกา, (พ่อเจ้า, แม่เจ้า หรือ ย่า, ยาย)
11. บุญเลิศ เสนานนท์ : “กํลุงฺง” หมายถึง หมู่, เหล่า
12. บุญเลิศ เสนานนท์ : “เนะ” หมายถึง นี้
13. บุญเลิศ เสนานนท์ : “ตฺรางฺ” หมายถึง ตระพัง, สระ, หนองน้ำ
14. บุญเลิศ เสนานนท์ : “คิต” หมายถึง แก่, เพื่อ, ต่อ
15. บุญเลิศ เสนานนท์ : “ศิวลิงฺค” หมายถึง พระศิวลึงค์