จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกศรีชยสิงหวรมัน

จารึก

จารึกศรีชยสิงหวรมัน

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2568 17:29:55 )

ชื่อจารึก

จารึกศรีชยสิงหวรมัน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกศรีชยสิงหวรมัน, มป. 9, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 99/43/2560

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ, ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 14

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

ใบเสมาชำรุด

ขนาดวัตถุ

กว้าง 62 ซม. สูง 65 ซม. หนา 17 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2510) กำหนดเป็น “จารึกศรีชยสิงหวรมัน (มป. 9)”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ได้มาจากร้านลาวไทย แอนติก กรุงเทพมหานคร (3 ก.พ. 2532) (ข้อมูลจากซองเก็บสำเนาจารึกของภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร-สำรวจเมื่อ 9 ธันวาคม 2565)

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล 22 กุมภาพันธ์ 2564)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2532) : 67-70.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 3, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2559), 39-42.

ประวัติ

จารึกนี้ไม่ปรากฏหลักฐานที่มาอย่างชัดเจน มีแต่เพียงว่า “ร้านสาวไทยแอนติคมอบให้กองพิพิธภัณฑแห่งชาติกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2532” เท่านั้น คงเป็นโบราณวัตถุที่ซื้อขายสืบต่อกันมา จนไม่สามารถสืบสาวประวัติถึงผู้พบครั้งแรกได้ อย่างไรก็ตาม ข้อความจารึกบ่งบอกถึงแหล่งเดิมว่า อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะพระนามของกษัตริย์ คือ พระเจ้า ศรีชยสิงหวรมัน แห่งอาณาจักรจำปา มีกล่าวถึงในจารึกภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และจารึกอื่น ๆ แต่นามเมือง “ศุรปุระ” ยังไม่พบในจารึกอื่นๆ ทั้งนามว่า “ทิวิเสนา” มีพบในจารึกวัดภู เป็น “ทิวเสน” เท่านั้น

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ (พระเจ้าศรีชยสิงหวรมัน) ว่าได้ทรงสร้างประโยชน์ให้แก่ชาวเมืองศุรปุระ และได้ทรงให้ทหารจำนวนหนึ่งขุดสระเพื่อทำการบูชาต่อพระศิวลึงค์

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

รูปแบบของตัวอักษรเป็นอักษรหลังปัลลวะและขอมโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
จตุพร ศิริสัมพันธ์, ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์, “จารึกศรีชยสิงหวรมัน,” ศิลปากร 33, 2 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2532) : 67-70.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 22 ธันวาคม 2565