เชิงอรรถอธิบาย |
1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พลับพลาสมเด็จพระศรีสุริเยนทราฯ” เป็นศาลาก่ออิฐถือปูน หลังเล็ก มี 2 ห้อง หลังคามุงกระเบื้องสี หน้าจั่ว, ช่อฟ้า และใบระกาประดับกระจก
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี” พระนามเดิม คือ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด ทรงเป็นพระราชชนนีของ ร. 4
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : การรื้อเรือนที่เคยใช้เป็นที่อยู่อาศัยมาถวายวัดนี้เป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง โดยมีสาเหตุ 2 ประการหลักๆ ได้แก่ (1) เรือนนั้นอยู่แล้วไม่มีความสุข เกิดเรื่องไม่ดีบ่อยครั้ง (2) เจ้าของเรือนเสียชีวิตไป (เป็นการอุทิศส่วนกุศลอย่างหนึ่ง)
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระตำหนักจันทร” (ตำหนักจันทร์) เป็นอาคาร 2 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณหน้าพระตำหนักเดิมภายในวัดบวรนิเวศฯ ร. 5 โปรดให้สร้างด้วยพระราชทรัพย์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎจันทร์ ถวายเป็นที่ประทับของสมเด็จพระมหาสมณฯ เมื่อ พ.ศ. 2448
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์” (พ.ศ. 2352-2435) ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ในสมัย ร. 2-ร. 5 มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าฤกษ์ ทรงเป็นพระโอรสของกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์และเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ทรงอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2372 ทรงเป็นเจ้าอาวาสพระองค์ที่ 2 ของวัดบวรนิเวศสืบต่อจากวชิรญาณภิกขุ (เจ้าฟ้ามงกุฏขณะผนวช) ซึ่งทรงลาผนวช (สึก) เพื่อขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 4) เมื่อ พ.ศ. 2394 หลังจากนั้นได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ทรงสมณศักดิ์เสมอ สมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่ ต่อมาในสมัย ร. 5 ทรงเลื่อนเป็นกรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ และ สมเด็จกรมพระยา (ดำรงสมณศักดิ์เป็นมหาสังฆปรินายก) ตามลำดับ ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2435 ครองวัดบวรนิเวศได้ 41 ปีเศษ
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ทรงมีพระนามว่า วชิรญาณภิกขุ ครองสมณเพศเป็นเวลา 27 ปี
|