จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดสมุหนิมิต

จารึก

จารึกวัดสมุหนิมิต ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2564 21:50:32

ชื่อจารึก

จารึกวัดสมุหนิมิต

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สฎ. 16 จารึกวัดสมุหนิมิต, ศิลาจารึก อักษรขอม ภาษาไทย สมัยกรุงธนบุรี

อักษรที่มีในจารึก

ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2319

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 42 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 18 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2514)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ศุภมัสตุ มาจากภาษาสันสกฤต คำว่า ศุภํ+อัสตุ หมายถึง ความดี/ความงามจงมี
2. ประสาร บุญประคอง : วันศุกร์ เดือน 9 แรม 10 ค่ำ ปีวอกอัฐศก ตรงกับวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2319
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : วัดจำปา ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่ง ห่างจากอำเภอไชยาประมาณ 4 กิโลเมตร มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายโดยพิจารณาจากรูปแบบทางด้านศิลปกรรม
4. ประสาร บุญประคอง : ในคำจารึกเป็นเลข 9 แต่นับชื่อพระอรหันต์ได้ 8 องค์
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : วัดเวียง ตั้งอยู่ในตำบลตลาดไชยาในปัจจุบัน บริเวณวัดแห่งนี้มีการพบโบราณวัตถุในสมัยต่างๆเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธรูปนาคปรก สมัยศรีวิชัย หม้อบรรจุกระดูก เครื่องปั้นดินเผาของจีนสมัยราชวงศ์ซ้องและเหม็ง รวมทั้งซากโบราณสถานสร้างด้วยอิฐ เป็นต้น
6. ประสาร บุญประคอง : วันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2319
7. ประสาร บุญประคอง : วันศุกร์ เดือน 5 แรม 5 ค่ำ ตรงกับวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2319
8. ประสาร บุญประคอง : วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 7 ค่ำ ตรงกับวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2319
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ทายก หมายถึง ผู้ถวายจตุปัจจัยแก่พระภิกษุ, สามเณร
10. ประสาร บุญประคอง : เนื้อความในด้านที่ 1 มีเพียงสุดบรรทัดที่ 22 แล้วอ่านต่อไปด้านที่ 2 บรรทัดที่ 1