จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกบ้านซับบาก

จารึก

จารึกบ้านซับบาก ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2564 เวลา 21:49:58

ชื่อจารึก

จารึกบ้านซับบาก

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกบ้านโคกสะแกราช, นม.39, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 298/2531, คลัง ช.0211/6

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1609

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 48 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 36 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 12 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2538)
2) บุญเลิศ เสนานนท์ (พ.ศ. 2538)

ผู้แปล

1) ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2538)
2) บุญเลิศ เสนานนท์ (พ.ศ. 2538)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : คำ “พา” ในคำว่า “สุเทพานำ” ทำให้อ่านเป็น “สุเทหนำ” ก็ได้ เพราะ “พา” กับ “ห” บรรทัดที่ 18 ใกล้เคียงกันมากและอ่านได้ทั้งสองอย่าง ถ้าเป็น “สุเทหนำ” จะเป็นการขัดกับหลักภาษา เพราะ “นำ” อยู่หลัง ให้ทีฆะ “อ” เป็น “อา” จึงต้องเป็น “สุเทหานำ” ส่วน “สุเทพานำ” ตามศัพท์น่าจะเป็น “สุเทวานำ” แต่รูปอักษรไม่อาจอ่านเป็น “ว” ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับอักษร “ว” บรรทัดที่ 17 การอ่านเป็น “สุเทพานำ” เพราะเปรียบเทียบกับคำว่า “พชฺรสตฺว” อักษร “พ” บรรทัดที่ 3 ซึ่งก็น่าจะอ่านเป็นอักษร “ป” หรือ “ว” แต่อักษร “ป” บรรทัดที่ 1 ที่แตกต่างออกไป ประกอบกับกับนาม “พชฺเรนฺทฺราจารฺยฺยะ” มีปรากฏในจารึกอื่นก่อนแล้ว และความหมายของคำว่า “สุเทพานำ” กับ “สุเทวานำ” ก็เป็นอย่างเดียวกัน ในจารึกนี้ก็หมายถึง “เทวะ” ฉะนั้นจึงอ่านเป็น “สุเทพานำ”
2. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “พระพัชระสัตวะ” ที่จารึกกล่าวถึงว่า “เป็นพระโพธิสัตว์องค์ที่ 6” มีการกล่าวถึงในจารึก TUK CUM พ.ศ. 1537 K. 238 ด้วยคำว่า “พชฺเรนฺทฺราจารฺยฺยะ” คือ พระพัชเรนทราจารย์ อาจจะเป็นนักบวชคนเดียวกัน เพราะระยะเวลาก็ไม่ห่างกันนัก ท่านคงเป็นนักบวชคนสำคัญที่มีบารมีสูง เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป จนได้รับการยกย่องให้เป็นพระโพธิสัตว์ องค์ที่ 6
3. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “จุงวิศ” เป็นชื่อของตำบล ดังปรากฏในจารึก TUK CUM K. 238 ว่า “สฺรุกฺ จุงฺวิศ” แปลว่าหมู่บ้าน หรือตำบลจุงวิศ แปลว่าหมู่บ้าน หรือตำบลจุงวิศ ส่วนคำว่า “จัมปกะ” เป็นชื่อเมืองดังที่ปรากฏในจารึก VAT PRATHAT K. 702 และคำว่า “ธรณีนทรปุระ” ก็เป็นชื่อเมืองเช่นเดียวกัน แต่ในจารึกบ้านโคกสะแกราชนี้ มีคำว่า “ภควัต” นำหน้าชื่อตำบลและเมืองเหล่านั้น อันแสดงถึงชื่อบุคคล หรือรูปเคารพ ในจารึกนี้น่าจะเป็นชื่อบุคคลสำคัญของตำบลและเมืองนั้นๆ
4. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “ตรฺกภาษฺย” เป็นชื่อคัมภีร์ ที่อธิบายวิชาตรรกศาสตร์ ข้อความว่า “ชนเหล่านั้น ข้ามมหาสมุทรอันมี ตรฺกภาษฺย เป็นต้น” หมายความว่า เขาเหล่านั้นเป็นผู้มีปัญญาสามารถเข้าใจการอธิบายด้วยเหตุผลทางตรรกศาสตร์ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเปรียบได้กับความยากลำบากในการข้ามมหาสมุทร เขาเหล่านั้นจึงสามารถปฏิบัติจนพบกับความสงบที่ได้รับใหม่
5. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “กาศิกากาวฺยะ” เป็นชื่อคัมภีร์อธิบายปาณิณีสูตร พระธนูแม้จะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถมาก แต่ก็ยังรู้สึกหนักใจกับความรู้ที่มีอยู่นอกคัมภีร์กาศิกากาพย์ จึงได้เริ่มจากรสของการสวดมนต์บูชายัญและโยคะ คงหมายถึงความพยายามในการทำใจให้เป็นสมาธิ เพื่อประโยชน์ในการคิดความหมายของศัพท์ที่เข้าใจได้ยากดังกล่าว
6. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “ภูยาสฺตาสฺหฺฤเตรฺมยา” แยกศัพท์เป็น ภูยาสฺ + ตาสฺ หฺฤเตรฺ + มยา เนื่องจากอักษร “ส” แยกจาก “ตา” เพราะสระของบรรทัดบนลงมาต่ำ จึงทำให้อ่านเป็น “สํหฺฤเต-” ได้ และเป็นศัพท์ที่มีความหมายเช่นกัน แต่จะหาประธานและกริยาของประโยคไม่ได้ จึงได้อ่านเป็น “ภูยาสฺตาสฺ” ซึ่งเป็นบทคุณศัพท์ที่ขยายคำว่า “เทเวนฺทฺราสฺ” ซึ่งในจารึกไม่มีอักษร “สฺ” เพราะพยัญชนะโฆษะอยู่หลัง จึงละอักษร “สฺ” ทิ้ง ทั้งเป็นบทสตรีลิงค์ ทวิติยาวิภักติ พหูพจน์ เหมือนกัน
7. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “ริ” หมายถึง อันว่า, ส่วน, ฝ่าย
8. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “วฺระวุทฺธโลเกศฺวร” คือ พระพุทธโลเกศวร
9. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “ต ปฺรํปฺวานฺน” หมายถึง ผู้ประเสริฐที่สุด (ปรมปราณ-เจ้าชีวิต) นวพรรณ ภัทรมูล : “ปฺรํปฺวานฺน” หมายถึง เก้า
10. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : ต มานฺ สิทฺธิ” หมายถึง มีความปรารถนา
11. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “สฺถปนา” หมายถึง สถาปนา, แต่งตั้ง, สร้าง, ประดิษฐาน
12. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “เวฺรงฺ” หมายถึง ในปางก่อน, โบราณ
13. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “เล” หมายถึง เหนือ, บน, ที่
14. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “อภยคิริ” คือ อภัยคีรี (วิหาร, ภูเขา)
15. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “เตํ” หมายถึง ต้น, เดิม, ครั้งแรก
16. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “กํ ปิ” หมายถึง อย่า, อย่าให้
17. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “ชวา” หมายถึง ประเทศชวา
18. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “อากฺรานฺต” หมายถึง มาถึง, รุกราน, ต่อสู้
19. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “สฺรุกฺ เขฺมรฺ” คือ เมืองเขมร
20. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “วฺระ โนะ” หมายถึง พระนั้น
21. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “สฺยงฺ” หมายถึง ที่, ซึ่ง, อัน
22. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “ตนุ” หมายถึง “ตัว, ตน”
23. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “ตฺวลฺล” หมายถึง ยก, ถึง, จด, ต่อ, แก่
24. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “เทา” หมายถึง ไป
25. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “โทงฺ” หมายถึง ด้วย, แล (คำลงท้าย)
26. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “เถฺว” หมายถึง ทำ, สร้าง, ปฏิสังขรณ์
27. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “ปฺรไว” หมายถึง สวย, งาม
28. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “อิสฺส” หมายถึง สิ้น, ที่สุด
29. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “วิงฺ ต เตลฺ” หมายถึง กลับเหมือนเดิม
30. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “อฺยตฺ” หมายถึง ไม่, หามิได้
31. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “วิฆฺนะ” หมายถึง แตก, ทำลาย
32. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “อาจารฺยฺย วฺระ ธนุ” คือ อาจารย์พระธนู
33. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “ต ศิษฺย์” หมายถึง ผู้เป็นศิษย์
34. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “อายฺ ต” หมายถึง ใน, ที่
35. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “อษฺฏ อษฺฏนา” หมายถึง 988 (เลขกหังปายา แปลจากหลังไปหาหน้า)
36. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “ต คิ” หมายถึง ตรงกับ
37. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : “ราชฺย” หมายถึง รัชสมัย
38. ชะเอม แก้วคล้าย และบุญเลิศ เสนานนท์ : คำว่า “ศฺรีอุทฺยาทิตฺยวรฺมเทว” อักษร “อุ” กับอักษร “ท” ซึ่งอยู่ติดกัน ถ้าอ่านอย่างคร่าวๆ โดยมิได้พิจารณาให้ละเอียด จะเห็นเป็นอักษร “ท” เหมือนกัน แต่คำว่า “อุตฺตีรฺยฺย” บรรทัดที่ 20 ถ้าอ่านเป็น “ทตฺตีรฺยฺย” จะไม่มีความหมาย เมื่อนำทั้งสองศัพท์มาพิจารณาโดยละเอียด จึงจะเห็นความต่างกันระหว่างอักษร “อุ