จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดสรศักดิ์

จารึก

จารึกวัดสรศักดิ์ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เวลา 16:21:43

ชื่อจารึก

จารึกวัดสรศักดิ์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 9 ก, หลักที่ 49 ศิลาจารึกวัดสรศักดิ์, สท. 25

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1960

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 35 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2508), (พ.ศ. 2526)

ผู้แปล

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2508), (พ.ศ. 2526)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) กรมศิลปากร (พ.ศ. 2526)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ม.ศ. 1334 = พ.ศ. 1955
2. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : สัปตสัปตจัตวาริ = จ.ศ. 774 (พ.ศ. 1955)
3. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : หนขื่อ = ด้านตะวันออก และด้านตะวันตก
4. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : หนแป = ด้านเหนือ และด้านใต้
5. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ธ = ท่าน
6. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ธรรมไตรโลกคจุนวรจาร = น่าจะเป็นธรรมไตรโลกสุนทราจารย์ หรือธรรมไตรโลกคุณวาจารย์
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จอด = พัก
8. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : พระศาสน์ = การสั่ง (ปัจจุบันใช้คำว่า “ประศาสน์”)
9. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เอาพรรษา = จำพรรษา
10. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ประศาสน์ = สั่ง
11. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : สบสังวาส = อยู่ร่วม เช่นพระสงฆ์ที่ไม่ต่างนิกายร่วมทำสังฆกรรมด้วยกันได้ เรียกว่า “สงฆ์สบสังวาส”
12. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ระบิ แผลงมาจากคำเดิมว่า “ริ” คือแรกคิด หรือ แรกทำ
13. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ศักราชขึ้นเก้าตัว วอกนพศก, คำว่า ศักราชขึ้นเก้าตัว หมายความว่าเลขท้ายของศักราชนั้นๆ เป็นเลข 9 ในที่นี้ศักราชที่ลงท้ายเป็นเลข 9 หรือที่เรียกว่านพศกและตรงกับปีวอกนั้น ได้แก่ พ.ศ. 1959 (จ.ศ. 778)
14. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ศักราชขึ้นตัวหนึ่ง ระกาสัมฤทธิศก, คำว่า ศักราชขึ้นตัวหนึ่ง ในที่นี้ หมายความว่าศักราชนั้นๆ เพิ่มจำนวนเลขอีกตัวหนึ่งเช่น พ.ศ. 1959 เมื่อเพิ่มเลขท้ายอีกตัวหนึ่งก็เป็น พ.ศ. 1960 (จ.ศ. 779) ตรงกับปีระกาสัมฤทธิศก (สัมฤทธิศกของพุทธศักราช)
15. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : และ, คำว่า “และ” ในที่นี้ใช้ในความว่า “กับหรือพร้อมด้วย”
16. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จาริก, จาริกวัตร คือวัตรที่ควรประพฤติ
17. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : คำนับ = หลักฐาน