จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดป่าใหญ่

จารึก

จารึกวัดป่าใหญ่ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:18:29

ชื่อจารึก

จารึกวัดป่าใหญ่

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อบ. 12, จารึกวัดป่าใหญ่ 3

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมอีสาน

ศักราช

พุทธศักราช 2350

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 10 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) พระทองแดง อตฺตสนฺโต (พ.ศ. 2527)
2) ธวัช ปุณโณทก (พ.ศ. 2530)

ผู้แปล

1) พระทองแดง อตฺตสนฺโต (พ.ศ. 2527)
2) ธวัช ปุณโณทก (พ.ศ. 2530)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ธวัช ปุณโณทก : ร้อย 69 = จ.ศ. 1169 ตรงกับ พ.ศ. 2350
2. ธวัช ปุณโณทก : ปีเมิงเหม้า = ชื่อปีตามปฏิทินหนไทย ตรงกับ ปีเถาะ นพศก ภาคกลาง
3. นวพรรณ ภัทรมูล : เพ็ง = วันเพ็ญ คือวันที่พระจันทร์เต็มดวง หรือวันขึ้น 15 ค่ำ
4. นวพรรณ ภัทรมูล : วัน 1 = วันอาทิตย์
5. ธวัช ปุณโณทก : มื้อรวงไค้ = ชื่อวันตามปฏิทินหนไทย
6. ธวัช ปุณโณทก : ยามแถใกล้ค่ำ = คือเวลาประมาณ 15.00 - 16.00 น.
7. ธวัช ปุณโณทก : ชะทาย = ปูนสอ, ปูนขาวที่ใช้โบกอิฐ
8. ธวัช ปุณโณทก : ล่ำแยง = ดูแลรักษา, สอดส่องดูแล
9. ธวัช ปุณโณทก : อนารายอันตาย = อันตราย
10. ธวัช ปุณโณทก : ต่อเท่า = จนถึง, ตราบเท่า, ตราบถึง, ตราบกระทั่ง
11. นวพรรณ ภัทรมูล : วัสสา = ปี
12. นวพรรณ ภัทรมูล : คำอ่านที่อ่านโดย “โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย” นี้ อ่านโดยอาศัยคำอ่านเดิมของอาจารย์ธวัช ปุณโณทก ฉะนั้นจึงมิใช่การอ่านใหม่ เพียงแต่แก้ไขในส่วนของเครื่องหมายให้ถูกต้องตามระบบการอ่านจารึก