จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกขันน้ำมนต์วัดบางคาง

จารึก

จารึกขันน้ำมนต์วัดบางคาง ด้านที่ 2

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2564 เวลา 22:06:05

ชื่อจารึก

จารึกขันน้ำมนต์วัดบางคาง

อักษรที่มีในจารึก

ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2507

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 8 ด้าน ด้านที่ 1 มี 2 บรรทัด, ด้านที่ 2 มี 3 บรรทัด, ด้านที่ 3 ลบเลือนไม่ทราบจำนวนบรรทัด, ด้านที่ 4 มี 2 บรรทัด, ด้านที่ 5 มี 2 บรรทัด, ด้านที่ 6 มี 2 บรรทัด, ด้านที่ 7 มี 4 บรรทัด และด้านที่ 8 มี 2 บรรทัด

ผู้อ่าน

สมภพ มีสบาย (พ.ศ. 2552)

ผู้แปล

สมภพ มีสบาย (พ.ศ. 2552)

ผู้ตรวจ

ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (พ.ศ. 2552)

เชิงอรรถอธิบาย

1. สมภพ มีสบาย : “ผฺติล” ขัน
2. สมภพ มีสบาย : “เนะ” นี้
3. สมภพ มีสบาย : “สฺถาปนา” สร้าง
4. สมภพ มีสบาย : “เฬีง” ขึ้น
5. สมภพ มีสบาย : “เนา” อยู่, ใน
6. สมภพ มีสบาย : “ไถฺง” วัน ในที่นี้ ไถฺง 5 จะตรงกับวันพฤหัสบดี
7. สมภพ มีสบาย : “เกีตแข” ข้างขึ้นพระจันทร์เต็มดวง, เดือนเพ็ญ หมายถึง วันขึ้น 15 ค่ำ
8. สมภพ มีสบาย : “ผลฺคุน” เดือน 4
9. สมภพ มีสบาย : “ฉฺนำ” ปี
10. สมภพ มีสบาย : ปีพุทธศักราชที่สร้างขันนี้เป็นปีไทย คือปี พ.ศ. 2507 จะตรงกับวันพฤหัสบดี เพ็ญ (15 ค่ำ) เดือน 4 เพราะถ้านับปีคริสต์ศักราชตามไทยแล้ว ปี ค.ศ. 1965 จะตรงกับปี พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นวันพุธ เพ็ญ (15 ค่ำ) เดือน 4 (วันพุธที่ 17 มีนาคม 2508) จะไม่ตรงกับคำจารึกที่ปรากฏ ดังนั้น ปี พ.ศ. 2507 ที่ปรากฏนี้จึงเป็นปีไทย และอักษรที่ใช้จารึกเป็นอักษรขอมไทย ภาษาไทย-เขมร ทั้งนี้ เนื่องจากจังหวัดปราจีนบุรีเป็นจังหวัดชายแดนไทยติดต่อกับประเทศกัมพูชา จึงมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการใช้ภาษาและวิถีการดำรงชีวิตอยู่ตลอดเวลา