จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกปราสาทหินพระวิหาร 2

จารึก

จารึกปราสาทหินพระวิหาร 2 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2564 เวลา 21:09:23

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพระวิหาร 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศก. 3, K.393, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 99/41/2560

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1664

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 135 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 48 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 57 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 7 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 23 บรรทัด

ผู้อ่าน

อำไพ คำโท (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

อำไพ คำโท (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ไม่พบคำว่า “คุณโทษทรฺคิ” ในพจนานุกรม แต่พบคำว่า “คุณโทษทรฺศิ” ซึ่งหมายถึง นายตำรวจที่มีหน้าที่ตรวจตราเรื่องถูก-ผิด (จาก Dictionnaire Vieux Khmer-Français-Anglais) ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อความในจารึกก็เห็นว่าความหมายดังกล่าวนี้เข้ากับบริบทซึ่งกล่าวถึงข้าราชบริพารและข้าราชการที่มารอรับเสด็จ ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า คำนี้ที่จริงแล้วควรจะอ่านเป็น “คุณโทษทรฺศิ” แต่ที่ผู้อ่านได้อ่านเป็น “คุณโทษทรฺคิ” อาจเป็นเพราะเกิดความผิดพลาดในการจารจารึก หรือรูปอักษรในจารึกไม่ชัดเจน
2. อำไพ คำโท : “นายสัญชก” นี้ไม่ทราบว่ามีหน้าที่ทำอะไร และมีความหมายอย่างไร สำหรับสัญชกนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของโขลญ ดังจะเห็นจากจารึกนี้ว่า ต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของโคลญคลัง และโขลญพระลำพาง
3. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำว่า “สญฺชกฺ” หมายถึง อาวุธ, สรรพาวุธ (จาก Dictionnaire Vieux Khmer-Français-Anglais) ดังนั้น “อฺนกฺ สญฺชกฺ” น่าจะหมายถึง นายสรรพาวุธ หรือ ช่างสรรพาวุธ
4. อำไพ คำโท : “พระลำพาง” นี้ ไม่ทราบว่าหมายถึงอะไร
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำว่า “ลํวางฺ” หมายถึง ตำบล, มณฑล (จาก Dictionnaire Vieux Khmer-Français-Anglais) ดังนั้น “โขฺลญฺวฺระลํวางฺ” จึงน่าจะหมายถึง โขลญที่ทำหน้าที่ดูแลตำบล (ท้องที่) อาจจะมีลักษณะหน้าที่คล้ายกับโขลญวิษัย (โขลญจังหวัด)
6. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำว่า “ขาลฺมาสฺ” บางแห่งแปลว่า ขันทอง
7. อำไพ คำโท : “เทวตาเกฺษตฺร” และ “เทวสฺถาน” ที่ปรากฏอยู่หลายแห่งในจารึกนี้ มีความหมายเหมือนกัน คือหมายถึงเทวสถานหรือวัดในศาสนาพราหมณ์นี้เอง
8. อำไพ คำโท : “เกฺษตฺราธิคม” คำนี้ไม่ทราบว่า หมายถึงอะไร แต่เมื่อดูตามรูปศัพท์แล้ว เข้าใจว่าคงจะมีความหมายเท่ากับคำ “เทวตาเกฺษตฺร”
9. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำว่า “เกฺษตฺราธิคม” (เกฺษตฺร + อธิคม) หมายถึง การเดินทางไปนมัสการสิ่งที่เคารพในศาสนา (จาก Dictionnaire Vieux Khmer-Français-Anglais)
10. อำไพ คำโท : คำวลีว่า “คุโรหุตาวเห” ในโศลกสันสกฤตนี้ น่าจะเป็น “คุโรรฺหุตวเห” มากกว่า เพราะศัพท์ “คุโร” นี้ ตัว “ร” จะต้องประวิสรรชนีย์ โดยจะให้อยู่โดดๆ ไม่ได้ แต่เมื่อตัว “ร” ต้องประวิสรรชนีย์ และมีพยัญชนะโฆษะตามหลังคือตัว “ห” จะต้องเปลี่ยนวิสรรชนีย์เป็น “รฺ” (เรผะ) สำหรับวลี “คุโรหุตวเห” นี้ เข้าใจว่าเขียนตกหล่นมากกว่า
11. อำไพ คำโท : “อฺวลฺ” คำนี้ถ้าจะว่าตามรูปศัพท์ต้องแปลว่า หมู่พล หรือพลเมือง แต่ในที่นี้แปลว่า จำนวนมาก หรือสิ่งของที่จำเป็น ฉะนั้นศัพท์นี้จะแปลว่า จำนวนมาก สิ่งของที่จำเป็น หรือหมู่พล ก็ได้
12. อำไพ คำโท : คำว่า “จำเรียง” หมายถึง ผู้ขับร้อง, นักร้อง
13. อำไพ คำโท : “กัมรเตงอัญตรำ” คงจะหมายถึงรูปฟ้อนรำของพระอีศวรมากกว่า ซึ่งในภาษาสันสกฤตเรียกว่า “ศิวตาณฺฑวะ”