จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดสระกำแพงใหญ่

จารึก

จารึกวัดสระกำแพงใหญ่ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2564 21:03:59

ชื่อจารึก

จารึกวัดสระกำแพงใหญ่

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศก. 1, K.374

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1585

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 24 บรรทัด

ผู้อ่าน

อำไพ คำโท (พ.ศ. 2526)

ผู้แปล

อำไพ คำโท (พ.ศ. 2526)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. อำไพ คำโท : “วิศุวสงกรานต์” เป็นวันที่พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะคือเวลาเที่ยง มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน
2. อำไพ คำโท : “งนฺ” หมายถึงน้ำหนัก ซึ่งเขมรสมัยใหม่ใช้ “ทํงน่” (อ่านว่า ตมง็วน) แต่อย่างไรก็ดี จารึกเขมรโบราณบางหลักใช้ “ทํงน่” เหมือนกัน
3. อำไพ คำโท : “เชียง” หมายถึง เครื่องชั่งตวงน้ำหนัก คำว่า “เชียง” หรือ “ชฺยงฺ” นี้ คงจะตรงกับ “ชนฺชฺยงฺ” ซึ่งมีใช้ในจารึกเขมรโบราณบางหลัก และคำ “ชนฺชฺยงฺ” นี้ ก็ตรงกับคำเขมรสมัยใหม่ว่า “ชญชีง” (อ่านว่า จ็วญจีง) ซึ่งแปลว่า ชั่ง ส่วนที่เขมรสมัยโบราณเขียนเป็น “ชนฺชฺยงฺ” ก็เพราะเขมรโบราณสมัยเมืองนครนิยมใช้ “ย” (สระเอีย) แทนสระ อี