จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกดงแม่นางเมือง

จารึก

จารึกดงแม่นางเมือง ด้านที่ 2

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2564 เวลา 20:44:03

ชื่อจารึก

จารึกดงแม่นางเมือง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Dong Mè Nang Mưo’ng (K. 766), หลักที่ 35 ศิลาจารึกดงแม่นางเมือง, นว. 1, K. 766

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1710

ภาษา

บาลี, เขมร, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 43 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 10 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 33 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2508)

ผู้แปล

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2508)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2518)
2) กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน คำอ่านของจารึกหลักนี้ ที่เผยแพร่ในจารึกในประเทศไทย เล่ม 4 ตัวพยัญชนะ
2. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : คำว่า “กรุง” ในภาษาเขมร เป็นกริยา แปลว่า ครอบ รักษา ป้องกัน เป็นนามแปลว่า นคร ราชธานี บุรี ในภาษาหนังสือหรือในวรรณคดีใช้แทนคำว่า พญา หรือ ราชา ก็มี เช่น “กรุงศรีธรรมาโศก” ในศิลาจารึกนี้ก็คือ “พญาศรีธรรมาโศก” หรือ “พระเจ้าศรีธรรมาโศก” นั่นเอง เรื่องราวที่เกี่ยวกับพระเจ้าศรีธรรมโศกทั้งสองพระองค์ปรากฏอยู่ในหนังสือเอกสารประวัติศาสตร์เมืองพัทลุง ซึ่งแต่งเมื่อ พ.ศ. 2272 สมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระภูมินทรราชา (ขุนหลวงท้ายสระ) เล่าเรื่องนางเลือดขาว มีใจความตอนหนึ่งเกี่ยวกับพระเจ้าศรีธรรมาโศกทั้งสองพระองค์ว่า “นางและเจ้าพญา (คือนางเลือดขาว และกุมารผู้เป็นสามี) กรีธาพลกลับหลังมายังสทิงบางแก้วเล่าแล กุมารก็เลียบดินดูจะสร้างเมือง ก็มาถึงแขวงเมืองนครศรีธรรมราชและก็สร้างพระพุทธรูปเป็นหลายตำบล จะตั้งเมืองบมิได้ เหตุน้ำนั้นเข้า หาพันธุ์สักบมิได้ ก็ให้มาตั้ง ณ เมืองนครศรีธรรมราช แลญังพระศพธาตุแลเจ้าพระยา (แลเจ้าพระญา = คือเจ้าพระญา) ศรีธรรมาโศกราช ลูกเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชนั้น” สำหรับข้อความที่ใช้เส้นดำนั้น หมายความว่า “ซึ่งมีพระบรมอัฐิของเจ้าพระญาศรีธรรมาโศกราช ผู้เป็นพระราชโอรสของเจ้าพระญาศรีธรรมาโศกราชประดิษฐานอยู่ในที่นั้น” ตามข้อความที่ยกมานี้พอจะทราบได้ว่า เมืองนครศรีธรรมราชในสมัยนั้นมีพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงพระนามว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชอยู่สองพระองค์ คือ พระชนกกับพระราชโอรส แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่กล่าวมานี้จะตรงกับข้อความในศิลาจารึกหลักนี้หรือไม่ ขอให้นักประวัติศาสตร์ช่วยกันพิจารณาต่อไป
3. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “พระสรีรธาตุ” ในที่นี้ หมายเอาพระบรมอัฐิของพระเจ้าศรีธรรมาโศกในพระบรมโกศ
4. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : คำว่า “กมรเตง” เป็นภาษาขอมแปลว่า เป็นเจ้า โดยปริยายหมายว่าเป็นที่เคารพนับถือเช่นพระเจ้าแผ่นดินและครูอาจารย์เป็นต้น ส่วนคำว่า “ชคต” นั้นเป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า สัตว์โลกหรือปวงชน “กมรเตงชคต” แปลว่า เป็นเจ้าแห่งสัตว์โลกหรือเป็นเจ้าแห่งปวงชน เพราะฉะนั้นคำว่า “กมรเตงชคตศรีธรรมโศก” จึงอาจแปลได้ว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกเป็นเจ้าแห่งสัตว์โลกหรือเป็นที่เคารพนับถือของปวงชน อนึ่ง พึงสังเกตว่า คำว่า “กมรเตง”นั้น ใช้สำหรับนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นที่เคารพนับถือทั้งที่ยังดำรงชีวิตอยู่หรือสิ้นชีวิตไปแล้วก็ได้ แต่คำว่า “ชคต” เช่นในศิลาจารึกนี้ ใช้เฉพาะผู้ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว ความหมายของคำว่า “ชคต” นอกจากนี้โปรดดูในพจนานุกรมสันสกฤต
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ในคำอ่านของจารึกหลักนี้ ที่เผยแพร่ในจารึกในประเทศไทย เล่ม 4 ตัวพยัญชนะ “ป” บางตัว ถูกอ่าน เป็น “บ” ทั้งที่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว อักษรที่ถูกอ่านเป็น “ป” และ “บ” ไม่มีความแตกต่างแต่ประการใด ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสน คณะทำงานฐานข้อมูลฯ แก้ไขคำอ่าน จากที่อ่านเป็น “บ” ให้อ่านเป็น “ป” ทั้งหมด
6. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ข้าบาทมูล = ข้าราชการในพระราชสำนัก
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ผู้มีวรรณทุกเหล่า = วรรณทั้ง 4 คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
8. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : จากคำแปลที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 แปลข้อความตรงนี้เป็นจำนวน 10 แต่เมื่อพิจารณาจากรูปศัพท์คือ “สตมฺวยฺ” (สต = 100, มฺวยฺ = 1) เห็นว่าน่าจะแปลว่า 100 มากกว่า
9. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : สีวิกา = วอ เสลี่ยง คานหาม
10. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ลิ” เป็นมาตราชั่งตวงของขอมในสมัยโบราณ
11. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ราชาธิราชในที่นี้ = กรุงศรีธรรมาโศกหรือพระเจ้าศรีธรรมาโศกในบรรทัดแรก
12. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : กรุงสุนัต = พระเจ้าสุนัต
13. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : คำว่า “กมรเตงชคต” ในศิลาจารึกนี้ เป็นคำเรียกแทนพระนามพระเจ้าศรีธรรมาโศกในพระบรมโกศ
14. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : (มหา)ศักราช 1089 = พ.ศ. 1710
15. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “บูรพาษาฒ” ชื่อฤกษ์ที่ 20 ได้แก่ดาวแรดตัวผู้ หรือดาวช้างพลาย
16. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “ฉทิง”
17. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “ฉวา”
18. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “ฉทิงชรูกเขวะ”
19. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “โสรงขยำ”
20. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “ตระโลม”
21. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “ทระกง”
22. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “เปร”
23. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “ศรก”
24. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “สดก”
25. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “ศรุก”
26. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : อเลอ = แปลง ห้าอเลอ = ห้าแปลง