จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกด่านประคำ

จารึก

จารึกด่านประคำ ด้านที่ 4

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2564 20:35:58

ชื่อจารึก

จารึกด่านประคำ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Dan Pǎ k’ǎm (K. 386), ศิลาจารึกด่านประคำ, บร. 2, K. 386, จารึกด่านปะคำ

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 18

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 72 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 3 ชำรุด ด้านที่ 4 มี 24 บรรทัด

ผู้อ่าน

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2528), (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2528), (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2528), (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “กวลานุรกฺตา” ในจารึกปราสาท, จารึกเมืองพิมาย และจารึกปราสาทตาเมียนโตจ เป็น “กุศลานุรกฺตา” จะเห็นถึงการลอกมาผิดพลาด จึงทำให้การจารึกผิดไปด้วย
2. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ทํวฺย” ในจารึกปราสาท, จารึกเมืองพิมาย และจารึกปราสาทตาเมียนโตจ เป็น “ทิวฺย” ข้อนี้แสดงถึงการบกพร่องของการจารึก
3. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ทารฺธฺยนฺ” ในจารึกปราสาท, จารึกเมืองพิมาย และจารึกปราสาทตาเมียนโตจ เป็น “ทารฺธฺยนฺ”
4. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “จลีต” ในจารึกปราสาท, จารึกเมืองพิมาย และจารึกปราสาทตาเมียนโตจ เป็น “จลิต”
5. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ศํรกฺษยา” ในจารึกปราสาท, จารึกเมืองพิมาย และจารึกปราสาทตาเมียนโตจ เป็น “สํรกฺษยา” ซึ่งคำว่า “ศํรกฺษยา” ไม่เป็นการผิดความหมายและหลักภาษาแต่ประการใด เพียงแต่ไม่เหมือนกับจารึกอื่นเท่านั้น
6. ชะเอม แก้วคล้าย : จากการที่จารึกอักษรผิดพลาดมากมายนี้ จึงทำให้เป็นที่แน่ใจได้ว่า ศิลาจารึกด่านประคำนี้ก็คัดลอกออกมาจากจารึกหลักอื่น ฉะนั้นการแปล จะถือตามศัพท์ที่ถูกต้องจากหลักอื่นๆ เป็นประมาณ เพราะถ้าแปลตามคำที่จารึกผิดแล้ว บางคำจะไม่ได้ความหมายเลย