จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกด่านประคำ

จารึก

จารึกด่านประคำ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2564 20:35:58

ชื่อจารึก

จารึกด่านประคำ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Dan Pǎ k’ǎm (K. 386), ศิลาจารึกด่านประคำ, บร. 2, K. 386, จารึกด่านปะคำ

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 18

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 72 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 3 ชำรุด ด้านที่ 4 มี 24 บรรทัด

ผู้อ่าน

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2528), (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2528), (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2528), (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ชะเอม แก้วคล้าย : จารึกปราสาทและจารึกปราสาทตาเมียนโตจ เป็น “หฺลาทยติ&พdquo;
2. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ทฺลาทยติสฺม” ความจริงควรเป็น “หฺลาทยติสฺม” เพราะอักษร “ห” กับ “ท” ในจารึกนี้ ใกล้เคียงกันมาก แต่หยักส่วนล่างของอักษร “ห” จะสูงกว่าอักษร “ท” จึงถือว่าเป็นการพลั้งเผลอของการจารึกที่ได้คัดลอกมา
3. ชะเอม แก้วคล้าย : จารึกปราสาท, เมืองพิมายและปราสาทตาเมียนโตจ เป็น “วิเตน”
4. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “วิเกเน” ก็เช่นเดียวกัน ในจารึกอื่นๆ เป็น “วิเตเน” พยายามจะอ่านให้เป็นอักษร “ต” เหมือนกัน แต่อักษร “ก” ชัดเจนมาก จึงถือว่าเป็นการพลั้งเผลอของการจารึกอีกคำหนึ่ง
5. ชะเอม แก้วคล้าย : จารึกปราสาทเป็น “ทิศทฺ” ส่วน เมืองพิมายและปราสาทตาเมียนโตจ ชำรุด
6. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “ทิคทฺ” ในจารึกปราสาท, จารึกปราสาทตาเมียนโตจ เป็น “ทิศทฺ” อักษร “ค” กับอักษร “ศ” ใกล้เคียงกันมาก นอกจากอักษร “ศ” มีเส้นตัดที่แขนด้านขวาเท่านั้น แต่ในหลักจารึกชัดเจนมาก จึงไม่อาจอ่านเป็น “ทิศทฺ” ได้
7. ชะเอม แก้วคล้าย : จารึกปราสาท, เมืองพิมายและปราสาทตาเมียนโตจ เป็น “วฺฤษํ”
8. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “วฺฤษ” ในจารึกปราสาท, จารึกเมืองพิมาย และจารึกปราสาทตาเมียนโตจ เป็น “วฺฤษํ” ให้เหมือนจารึกอื่นๆ ได้ นอกจากถือเป็นความบกพร่องของการจารึก
9. ชะเอม แก้วคล้าย : จารึกปราสาท, และปราสาทตาเมียนโตจ เป็น “ปุษฺกลี”