จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 7

จารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 7 ด้านที่ 3

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2564 20:34:33

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 7

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Stèle de Phnom Ruŋ (K. 384), หลักที่ 120 ศิลาจารึกปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์, บร.1, จารึกหลักที่ 120, K.384

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 18

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 76 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 17 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 21 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 21 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 17 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ยอร์ช เซเดส์ (อ่านเป็นอักษรโรมัน), (พ.ศ. 2496)
2) ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล (อ่านเป็นอักษรไทย), (พ.ศ. 2513)

ผู้แปล

1) ยอร์ช เซเดส์ (แปลเป็นภาษาฝรั่งเศส), (พ.ศ. 2496)
2) ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล (แปลเป็นภาษาไทย), (พ.ศ. 2513)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2513)
2) กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล : อาจแก้ “ภูต” เป็น “ภูติ” คือ “โชคลาภ” ซึ่งทำให้ความหมายดีขึ้น
2. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล : ถ้อยคำที่ไม่ชัดเจนนี้หมายความว่าอาทิตย์ (คือพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 หรือ นเรนทราทิตย์) ผู้สามารถให้แสงสว่างภายในถ้ำอันมืดมนนั้น ยิ่งใหญ่กว่าพระอาทิตย์
3. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล : สกุลนักไวยากรณ์ซึ่งปตัญชลีกล่าวอ้างถึง