จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดมะกอก

จารึก

จารึกวัดมะกอก ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2564 23:27:42

ชื่อจารึก

จารึกวัดมะกอก

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Inscription de Kok Cheng (Ta Praya) (K. 999), ปจ. 19, K. 999, ทะเบียนโบราณวัตถุที่ 13/2510, 99/5/2560

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 16

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 13 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) Saveros Pou (พ.ศ. 2484)
2) อุไรศรี วรศะริน (พ.ศ. 2515)

ผู้แปล

1) Saveros Pou (พ.ศ. 2484)
2) อุไรศรี วรศะริน (พ.ศ. 2515)

ผู้ตรวจ

1) อัญชนา จิตสุทธิญาณ (พ.ศ. 2515)
2) กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. อุไรศรี วรศะริน : “นุ” หมายถึง ด้วย กับ
2. อุไรศรี วรศะริน : “มานฺ” หมายถึง มี
3. อุไรศรี วรศะริน : “วฺระ” หมายถึง พระ
4. อุไรศรี วรศะริน : “ศาสน” หมายถึง พระบรมราชโองการ
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านของจารึกหลักนี้ ที่เผยแพร่ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 ตัวพยัญชนะ “ป” บางตัว ถูกอ่าน เป็น “บ” ทั้งที่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว อักษรที่ถูกอ่านเป็น “ป” และ “บ” ไม่มีความแตกต่างแต่ประการใด ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสน คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) จึงแก้ไขคำอ่าน จากที่อ่านเป็น “บ” ให้อ่านเป็น “ป” ทั้งหมด
6. อุไรศรี วรศะริน : “ธูลี วฺระปาท ธูลี เชงฺ วฺระ กมฺรเตงฺ อญฺ” เป็น คำนำหน้าพระปรมาภิไธย
7. อุไรศรี วรศะริน : “ต” หมายถึง อัน ต่อ ของ ที่
8. อุไรศรี วรศะริน : ใน Nouvelles Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “ธุลี” แต่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว พบว่าสระล่างที่อยู่ใต้ “ธ” นั้น เป็นสระ อู ชัดเจน
9. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบัน เป็น “ราเชนทรวรมัน”
10. อุไรศรี วรศะริน : “มฺรตาญฺ โขฺลญฺ” เป็น คำนำหน้าชื่อ หรือตำแหน่งข้าราชการ
11. อุไรศรี วรศะริน : “เสฺตญฺ” เป็น คำนำหน้าชื่อ หรือตำแหน่งข้าราชการ
12. อุไรศรี วรศะริน : “คี”, “คีนา” หมายถึง คือ
13. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “เสตญ”
14. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Nouvelles Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “ปิ” และเมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว พบว่าสระบนที่อยู่เหนือ “ป” นั้น เป็นสระ อิ ชัดเจน
15. อุไรศรี วรศะริน : “ปี” หมายถึง แล้ว แล้วก็
16. อุไรศรี วรศะริน : “ปนฺทฺวลฺ” หมายถึง สั่ง
17. อุไรศรี วรศะริน : “อญฺ” เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 เอกพจน์
18. อุไรศรี วรศะริน : “วาปฺ” เป็นคำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่งข้าราชการ
19. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Nouvelles Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “ศีขาวฺรหฺมา” และเมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว พบว่ารูปสระบนที่อยู่บน “ศ” นั้น น่าจะเป็นสระอี เพราะเป็นเส้นโค้งขดปลายเข้าด้านใน ไม่ใช่รูปวงกลม (สระอิ) นอกจากนั้นยังไม่พบสระอาที่มาประกอบกับตัวอักษร “ห” (ในคำว่า “วฺรหฺมา” ที่อ่านใน Nouvelles Inscriptions du Cambodge) ดังนั้นคำนี้จึงน่าจะอ่านเป็น “ศีขาวฺรหฺม”
20. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบัน เป็น “ศีขาพรหม”
21. อุไรศรี วรศะริน : “เปฺร” หมายถึง ใช้
22. อุไรศรี วรศะริน : “โมกฺ” หมายถึง มา
23. อุไรศรี วรศะริน : “สํ” หมายถึง ปัก สร้าง
24. อุไรศรี วรศะริน : “ปฺรศสฺต” หมายถึง พระบรมราชโองการ จารึก
25. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบันเป็น “พัชรธรรม”
26. อุไรศรี วรศะริน : “อายฺ” หมายถึง ที่
27. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “สาธุปาลิ” และเมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว พบว่าสระบนที่อยู่เหนือ “ล” นั้น อาจเป็นได้ทั้งสระอิ และ สระอี คือมีลักษณะเป็นสระอิซ้อนกัน 2 ตัว ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการจารทับกันลงไปหลังจากจารผิดตำแหน่งในครั้งแรก
28. อุไรศรี วรศะริน : “นา” หมายถึง ณ หน้า
29. อุไรศรี วรศะริน : “โคตฺร” หมายถึง โคตร ครอบครัว
30. อุไรศรี วรศะริน : “สํ” หมายถึง รวมฃ
31. อุไรศรี วรศะริน : “สิทฺธาย” ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ สันนิษฐานว่าคำนี้ย่อมาจากสิทธายตน ซึ่งเป็นชื่อของเทวดา หรือที่ดิน (ดู Ic. IV, p.77. no4) แม้ว่าข้าพเจ้าจะไม่ใคร่เห็นด้วยกับข้อสันนิษฐานของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ แต่ข้าพเจ้าก็ยังไม่สามารถอธิบายเป็นอย่างอื่นได้จึงขอแปลไปตามที่ท่านสันนิษฐานไว้ก่อน
32. อุไรศรี วรศะริน : “กํเสฺตงฺ ชคตฺ” หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าผู้ครองสัตว์โลก
33. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : คำอ่านปัจจุบัน เป็น “กำเสตง ชคต”
34. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Nouvelles Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “ลิงฺคปุริ” แต่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว พบว่าสระล่างที่อยู่ใต้ “ป” นั้น เป็นสระ “อู” ชัดเจน ส่วนคำหลังจะเป็น “ริ” หรือ “รี” นั้น เห็นได้ไม่ชัด
35. อุไรศรี วรศะริน : “จำ” เป็นคำกริยา แปลว่า ให้ หรือ ถวาย
36. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใน Nouvelles Inscriptions du Cambodge อ่านเป็น “จารฺ” แต่เมื่อพิจารณารูปอักษรแล้ว เห็นว่าน่าจะอ่านเป็น “จำ” มากกว่า เพราะไม่พบตัว “รฺ” ที่เป็นตัวสะกด
37. อุไรศรี วรศะริน : “จำนามฺ” หมายถึง สิ่งของซึ่งถวาย แผลงมาจาก “จำ” โดยใช้ “นํ” เติมกลาง
38. อุไรศรี วรศะริน : “ปรฺยฺยงฺ” หมายถึง น้ำมัน
39. อุไรศรี วรศะริน : “โสฺรงฺ” หมายถึง สรง
40. อุไรศรี วรศะริน : “มาสฺ” หมายถึง ทอง
41. อุไรศรี วรศะริน : “เศฺวต” หมายถึง ขาว
42. อุไรศรี วรศะริน : “ตนฺทุล” หมายถึง ข้าว
43. อุไรศรี วรศะริน : “เช” หมายถึง กระจาด
44. อุไรศรี วรศะริน : “วฺวํ” หมายถึง ไม่
45. อุไรศรี วรศะริน : “ชา” หมายถึง เป็น