จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปยืนวัดข่อย

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปยืนวัดข่อย ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2564 เวลา 20:34:35

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปยืนวัดข่อย

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 17 จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืนวัดข่อย, จารึกที่ 17 จารึกบนฐานพระพุทธรูปยืนพบที่วัดข่อย, K. 695 Văt Khôy, K. 695, ลบ. 9

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12

ภาษา

มอญโบราณ

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2472)
2) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2529)
3) พงศ์เกษม สนธิไทย (พ.ศ. 2546)

ผู้แปล

1) ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2472)
2) จำปา เยื้องเจริญ (พ.ศ. 2529)
3) พงศ์เกษม สนธิไทย (พ.ศ. 2546)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2504), (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ยอร์ช เซเดส์ : “รฺลฺล” หรือ “ตรฺลล” คงเป็นพยางค์ที่ 2 ของคำเรียกในภาษามอญ ที่รู้จักกันดีคือ “ติรละ” (ซึ่งปัจจุบันนี้เปลี่ยนเป็น ตละ) หมายถึง เจ้า
จำปา เยื้องเจริญ : “ระละเลี่ยะ” คำนี้เข้าใจว่าจะมาจากคำว่า “ตระละเลี่ยะ” แปลว่า เจ้าปู่
พงศ์เกษม สนธิไทย : แปลว่า ผู้เป็นใหญ่
2. จำปา เยื้องเจริญ : “มาง์” หรือ “อิมาง์” คำนี้อ่านว่า “มาญง์” แปลว่า ลุง ป้า น้า อา หลาน
พงศ์เกษม สนธิไทย : คำนี้อ่านว่า “อิมาง์” หรือ “อิมฺยาง” แปลว่า หนุ่ม ท่านชาย หรือ สามี เป็นคำยืมจากพม่า คือคำว่า “หม่อง” ที่อ่านได้ว่า “อิมาง์” นั้น เนื่องจากด้านซ้ายมีซึ่งเป็นรอยสลักรูปกลีบบัว มีรอยจางๆ คล้ายตัวอักษรบางตัว และ รูปอักษร “ม” นั้นลดระดับต่ำลงมาอยู่ด้านล่าง รูปจางดังกล่าวอาจเป็น “อิ” ซึ่งอยู่บนอักษร “ม”
3. จำปา เยื้องเจริญ : “โกญ์” คำนี้อ่านว่า “โกญ” มาจากคำว่า “โกน” แปลว่า ลูก ในจารึกฐานพระพุทธรูปนี้ใช้ “โกญ์” แทน “โกน” คงประสงค์แต่การออกเสียงเท่านั้น
4. จำปา เยื้องเจริญ : “วิฌาย์” คำนี้อ่านว่า “วิฌ่าย” หรือ “จิฌ่าย” แปลว่า “เจริญ” ในภาษามอญใช้อย่างเช่น “เจริญพระพุทธมนต์” หรือ “เจริญกัมฐาน”
พงศ์เกษม สนธิไทย : น่าจะเป็นชื่อเฉพาะ ตรงกับคำว่า “วิชัย” เนื่องจาก คำอ่านอ่านว่า “วิฌาย์” ซึ่ง รูป “ฌ” นี้ ไม่เคยปรากฏในจารึกมอญในสมัยต่างๆ เลย ดังนั้นการปรากฏรูปอักษร “ฌ” นี้ นับได้ว่าเป็นการปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก
5. จำปา เยื้องเจริญ : “จยาค” หรือ “จฺยาด” คำนี้อ่านว่า “จย๊ากจ์” มาจาก “กย๊ากจ์” แปลว่าพระพุทธรูป หรือ พระพุทธเจ้า
พงศ์เกษม สนธิไทย : คำนี้ น่าจะตรงกับคำมอญปัจจุบันว่า “จาด” ซึ่งแปลว่า การทำบุญอุทิศส่วนกุศล หรือ เป็นพุทธบูชา เนื่องจาก เสียง “ย” ที่เป็นเชิงอักษร เป็นพยัญชนะเหลว จึงสูญเสียงไปนปัจจุบัน จาก “จฺย” จึงเหลือเพียง “จ” เท่านั้น