จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกเมืองพรหมทิน 1

จารึก

จารึกเมืองพรหมทิน 1 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2564 20:29:48

ชื่อจารึก

จารึกเมืองพรหมทิน 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลบ. 16

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 13

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2524), (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

แสง มนวิทูร (พ.ศ. 2524), (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. เทิม มีเต็ม : “ตถาตโต” ตามรูปอักษรจารึกเป็นพยัญชนะตัว “ต” อย่างชัดเจน จึงอ่านเป็น “ตถาตโต” ซึ่งที่ถูกต้องนั้นจะต้องเป็น “ตถาคโต” มิใช่ “ตถาตโต”
2. เทิม มีเต็ม : “จ” รูปอักษรจารึกในภาพถ่ายเลือนลาง พิจารณาแล้วเป็นพยัญชนะตัว “จ” ได้ อรรถกถาพระวินัยปิฎก มหาวรรค อรรถกถามหาขันธกะ สารีปุตตโมคคัลลานบรรพชา
(1) “เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา” มีความว่า เบญจขันธ์ ชื่อว่า ธรรม มีเหตุเป็นแดนเกิด พระเถระแสดงทุกขสัจ แก่สารีบุตรนั้นด้วยคำนั้น
(2) “เตสํ เหตุํ ตถาคโต อาห” มีความว่า สมุทยสัจ ชื่อว่า เหตุแห่งเบญจขันธ์นั้น พระเถระแสดงว่า พระตถาคตตรัสสมุทยสัจนั้นด้วย
(3) “เตสญฺจ โย นิโรโธ” มีความว่า พระตถาคตตรัสความดับคือความไม่เป็นไปแห่งสัจจะแม้ทั้ง 2 นั้นด้วย พระเถระแสดงนิโรธสัจแก่สารีบุตรนั้นด้วยคำนั้น ส่วนมรรคสัจ แม้ท่านไม่ได้แสดงรวมไว้ในคาถานี้ ก็เป็นอันแสดงแล้วโดยนัย เพราะว่าเมื่อกล่าวนิโรธ มรรค ซึ่งเป็นเหตุให้ถึงนิโรธนั้น ก็เป็นอันกล่าวด้วย อีกอย่างหนึ่ง ในบาทคาถาว่า “เตสญฺจ โย นิโรโธ” นี้ สัจจะแม้ 2 เป็นอันพระเถระแสดงแล้ว อย่างนี้ว่า ความดับแห่งสัจจะทั้ง 2 นั้น และอุบายแห่งความดับแห่งสัจจะทั้ง 2 นั้น ฉะนี้แล บัดนี้ พระเถระเมื่อจะยังเนื้อความนั้นนั่นแลให้รับกัน จึงกล่าวว่า “เอวํ วาที มหาสมโณติ” คือ พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้