จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกธรรมจักร (นครปฐม)

จารึก

จารึกธรรมจักร (นครปฐม) ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 เวลา 15:41:43

ชื่อจารึก

จารึกธรรมจักร (นครปฐม)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พระธรรมจักรศิลา จารึกภาษาบาลี ได้มาจากจังหวัดนครปฐม, จารึกธรรมจักร, กท . 29

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 12

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จารึกอยู่บนบริเวณส่วนต่างๆ ของธรรมจักร ได้แก่ ดุม กง และ กำ

ผู้อ่าน

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2504)
2) ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2504)
2) บุญเลิศ เสนานนท์ (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2504), (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “พระผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่” หมายถึง “สัมมาสัมพุทธเจ้า” ในบทบาลีใช้ “มเหสิโน”
2. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “4 อย่าง” คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
3. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “อาการ 12 อย่าง” คือ ความจริง 12 อย่าง เกิดจาก ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค 4 อย่างนี้ หมุนวน 3 รอบ (3 x 4)
4. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “สัจจญาณ” ญาณ คือ การหยั่งรู้ตามความเป็นจริง
5. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “กิจจญาณ” ญาณ คือ การหยั่งรู้ในกิจที่ต้องทำ
6. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “กตญาณ” ญาณ คือ การหยั่งรู้ในกิจที่ทำแล้ว
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ความจริงที่เป็นสมุทัย” คือ เหตุให้เกิดทุกข์ได้แก่ ตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
8. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ความจริงที่เป็นนิโรธ” คือ ความดับทุกข์
9. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “ความจริงที่เป็นมรรค” คือ ทางดำเนินไปให้ถึงความดับทุกข์