โพสต์เมื่อวันที่
25 มิ.ย. 2564 13:59:28
ชื่อจารึก |
จารึกศรีจานาศะ |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
หลักที่ 117 ศิลาจารึกหลักใหม่ที่ค้นพบในพระนครศรีอยุธยา, อย. 12, จารึกหลักที่ 117, K.949, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 99/3/2560, จารึกศรีจนาศะ |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมโบราณ |
ศักราช |
พุทธศักราช 1480 |
ภาษา |
สันสกฤต, เขมร |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 2 ด้าน 35 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 18 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 17 บรรทัด |
ผู้อ่าน |
ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2478) |
ผู้แปล |
1) ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2478), (แปลเป็นภาษาฝรั่งเศส) |
ผู้ตรวจ |
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2513) |
เชิงอรรถอธิบาย |
1. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล : เลขทั้ง 3 ตัวนี้ ได้แก่มหาศักราช 859 (พ.ศ. 1480) คือเลข 8 แปลมาจากศัพท์สันสกฤตว่า “ไอศฺวรยฺย” เลข 5 แปลมาจากภาษาสันสกฤตว่า “อินฺทฺริย”, และเลข 9 ก็แปลมาจากศัพท์สันสกฤตว่า “นว” อย่างภาษาบาลี ทั้งนี้ เพราะภาษาสันสกฤตในสมัยนั้นนิยมใช้สังขยาอยู่หลายอย่าง คือ (ก) สังขยาธรรมดา เช่น เอก = 1, นว = 9 (ข) ใช้อักษรแทนตัวเลข ซึ่งเรียกกันว่า “อักษรสังขยา-ภาษาสันสกฤต” เราเรียกว่า “เลขกหังปายา” หรือ “เลขแบบกหังปายา” คือ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 0 ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ฌ ญ ฎ ฐ ฑ ฒ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ (ดูคำอธิบายใน สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 2 หน้า 759 หรือใน ศิลปากร ปีที่ 2 เล่ม 4 ธันวาคม 2481 หน้า 70) และ (ค) ใช้ศัพท์ (ซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า มีจำนวนทั้งสิ้นเท่าไร) แทนตัวเลข ซึ่งเรียกกันว่า สงฺเกตสงฺขยา เช่น ไอศฺวรฺยฺย = 8, และอินฺทฺริย = 5 ที่ใช้ในศิลาจารึกหลักนี้ แต่การเรียงคำให้เรียงตามแบบอักษรสังขยาภาษาสันสกฤต หรือ เลขกหังปายา ทั้งสิ้น ตัวอย่างจำนวนเลข 859 ต้องเรียงเป็น 958 และใช้สนธิให้สละสลวยด้วย เช่น นเวนฺทฺริใยศวรฺยฺย เป็นต้น |